Page 57 - E-book หน้าที่พลเมืองและศีลธรรม
P. 57
52
2. ขนบธรรมเนียมหรือสถาบัน เป็นระเบียบแบบแผนที่สังคมได้กําหนดไว้แล้ว
ปฏิบัติสืบ กันมา คือรู้กันเอง ไม่ได้เป็นระเบียบแบบแผนไว้ว่าควรประพฤติปฏิบัติกันอย่างไร
มักเชคาว ขนบธรรมเนียมประเพณี ซึ่งคนในสังคมมีความพอใจ เป็นที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา มี
ข้อกําหนดบังคับเอาไว้ เช่น สถาบันการศึกษามีครู ผู้เรียน เจ้าหน้าที่ทางการศึกษา เป็นต้น
รูปที่ 3.2 พิธีการหมั้นเป็นขนบประเพณี
3. ธรรมเนียมประเพณีหรือประเพณีนิยม เป็นแนวทางการปฏิบัติในการดําเนิน
ชีวิตประจําวันที่ปฏิบัติกันมาจนเคยชิน แต่ต้องไม่ขัดแย้งกัน เป็นเรื่องของทุกคนควรทําแม้มี
ผู้ฝ่าฝืนหรือทํา ผิดก็ไม่ถือว่าเป็นเรื่องสําคัญ แต่อาจถูกตําหนิได้ว่าไม่มีมารยาท ไม่รู้จักกาลเทศะ
เช่น การแต่งกาย การ รับประทานอาหาร
3.1.4 ลักษณะของประเพณี
ประเพณีไทยแบ่งออกได้ 2 ลักษณะ คือ ประเพณีส่วนบุคคลและประเพณี
ส่วนรวม
1. ประเพณีส่วนบุคล ได้แก่ ประเพณีเกี่ยวกับการแต่งงาน ประเพณีการเกิด
ประเพณี การตาย ประเพณีการบวช ประเพณีการขึ้นบ้านใหม่ ประเพณีทําบุญอายุ เป็นต้น
2. ประเพณีส่วนรวม ได้แก่ ประเพณีทางศาสนาต่าง ๆ เช่นประเพณีการทําบุญ
เข้าพรรษา ออกพรรษา ประเพณีตรุษ สารท ลอยกระทง ประเพณีเทศกาลสงกรานต์ และ
ประเพณีวันสําคัญทาง พระพุทธศาสนา เป็นต้น