Page 21 - ED 211
P. 21

เอกสารประกอบการสอนเรื่อง

                                      การเปลี่ยนแปลงทัศนะในการมองโลกและมองชีวิต:

                                           กระบวนทัศน์แบบองค์รวมและแยกส่วน



                               เอกสารเรื่อง “ถ้อยประท้วงของคนป่า” แปลจาก Chief Seattle’s Speech  สุนทรพจน์

                   ของซีแอตเทิล (Seattle.  1786-1866) ซึ่งเป็นหัวหน้าชาวอินเดียนแดงเผ่าซูความิช (Suquamish)  เป็น
                   จดหมายตอบการขอซื้อดินแดนของชาวอินเดียนแดงในซีแอตเทิล ในช่วงกลางศตวรรษที่ 19  เอกสาร

                   ฉบับนี้สะท้อนให้เห็นถึงทัศนะในการมองโลกและมองชีวิตที่แตกต่างกันสองชุด คือ ทัศนะในการมองโลก

                   และมองชีวิตด้วยกระบวนทัศน์แบบองค์รวมและแบบแยกส่วน


                   ทัศนะในการมองโลกและมองชีวิตแบบองค์รวมและแยกส่วน

                              ทัศนะในการมองโลกและมองชีวิตด้วยกระบวนทัศน์แบบองค์รวม  เป็นทัศนะในการมองโลก

                   เป็นหน่วยชีวิต มีชีวิต มีจิตวิญญาณ  ธรรมชาติถูกรับรู้ในลักษณะของความสัมพันธ์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
                   และเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์  โดยมีมนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ  ไม่ได้เป็นศูนย์กลางหรือเป็นนายเหนือ

                   ธรรมชาติ ทัศนะในการมองโลกดังกล่าวท าให้การสร้างความรู้ของมนุษย์เป็นไปเพื่อการด ารงชีวิตที่

                   สอดคล้องกับธรรมชาติ  และเพื่อเข้าใจความหมายของธรรมชาติและสรรพสิ่ง  มากกว่าการสร้างความรู้
                   เพื่อต้องการคาดการณ์และควบคุม  ดังจะเห็นได้จากวิถีชีวิตที่ด าเนินไปด้วยการเกื้อกูล  การพึ่งพาอาศัย

                   ซึ่งกันและกันและตระหนักถึงการด ารงอยู่ของธรรมชาติและสรรพสิ่ง  เพราะการด ารงอยู่ของธรรมชาติ

                   และสรรพสิ่งถูกพิจารณาในฐานะหลักประกันการด ารงชีวิตของตนเอง  ครอบครัวและสรรพสิ่งทั้งหมด
                   ดังข้อความตอนหนึ่งใน “ถ้อยประท้วงของคนป่า” ความว่า  “โลกนี้มิใช่ของมนุษย์  คนต่างหากที่เป็น

                   สมบัติของโลก  สิ่งนี้เรารู้.....ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน.....สิ่งใดก็ตามที่เกิดขึ้นแก่โลก  ย่อม
                   เกิดขี้นแก่บุตรธิดาของโลกด้วย  มนุษย์ไม่ใช่ผู้สานทอใยแห่งชีวิต  เขาเป็นเพียงเส้นใยหนึ่งในนั้น  สิ่งใดก็

                   ตามที่เขาท าต่อข่ายใยนั้น  ก็เท่ากับท าต่อตนเอง”

                               ทัศนะในการมองโลกและมองชีวิตดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงการจัดระบบ เชื่อมโยงและการ

                   สร้างความหมายให้กับโลกซึ่งมนุษย์เป็นส่วนหนึ่งด้วยกระบวนทัศน์แบบองค์รวม  จึงแตกต่างจากทัศนะ
                   ของคนขาว ซึ่งเป็นผู้ยื่นข้อเสนอเพื่อขอซื้อที่ดินจากชนเผ่าอินเดียนแดง  เพราะไม่ได้มองธรรมชาติเป็น

                   ส่วนหนึ่งของชีวิต และไม่ได้เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์อีกต่อไป  เนื่องจากธรรมชาติเป็นเพียงทรัพยากรที่ควร
                   น ามาใช้ประโยชน์เพื่อเอื้ออ านวยให้มนุษย์สามารถด าเนินชีวิตได้อย่างสะดวกสบาย หรือเป็นทัศนะในการ













                                                       เอกสารประกอบการสอนรายวิชากระบวนทัศน์ทางการศึกษา พรใจ ลี่ทองอิน | 15
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26