Page 22 - ED 211
P. 22

3
                   มองโลกและมองชีวิตด้วยระบวนทัศน์แบบแยกส่วน   ซึ่งกลายเป็นกระบวนทัศน์หลักในการก าหนด
                   ทิศทางของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติในปัจจุบัน


                   การเปลี่ยนแปลงทัศนะในการมองโลกและมองชีวิต

                               ความแตกต่างของทัศนะดังกล่าว เป็นผลจากพัฒนาการของวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ที่เริ่มขึ้น

                   ในช่วงเวลาที่วิทยาศาสตร์ก้าวหน้าอย่างรวดเร็วในยุโรปในช่วงระหว่าง ค.ศ.1500-1750 หรือที่เรียกกันว่า

                   ยุคของการปฏิวัติวิทยาศาสตร์  ซึ่งมีผลให้ทัศนะในการมองโลกเป็นหน่วยชีวิต มีชีวิต และมีจิตวิญญาณ
                   แบบเดิมที่เคยเป็นทัศนะหลักของคนส่วนใหญ่ทั้งโลกตะวันตกและตะวันออก ถูกเปลี่ยนแปลงอย่างถึงแก่น

                   และแทนที่ด้วยทัศนะในการมองโลกและมองชีวิตชุดใหม่  เพราะโลกถูกมองเป็นเครื่องจักรเครื่องหนึ่ง  ไม่

                   มีชีวิต และไม่มีจิตวิญญาณ  การแสวงหาความรู้ของมนุษย์เป็นไปเพื่อการครอบง าและควบคุมธรรมชาติ
                   (คาปร้า.  2539: 49-50)  ยุคของการปฏิวัติวิทยาศาสตร์มีจุดเริ่มจากการปฏิวัติในวิชาดาราศาสตร์และ

                   ฟิสิกส์  ซึ่งเป็นผลมาจากการค้นพบที่ส าคัญของนิโคลัส โคเปอร์นิคัส (Nicolaus Copernicus.  1473-

                   1543)  กาลิเลโอ กาลิเลอี (Galileo Galilei.  1564-1642)  และเซอร์ ไอเซค นิวตัน (Sir Isaac Newton.
                   1643-1727)  ทั้งนี้เพราะโคเปอร์นิคัสเสนอว่าดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาล  มีดาวเคราะห์

                   รวมทั้งโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์  ซึ่งข้อเสนอดังกล่าวถูกต่อต้าน  โดยเฉพาะจากคริสตจักรคาทอลิกที่ถือ

                   ว่าจักรวาลในแบบโคเปอร์นิคัส ขัดแย้งกับค าสอนของศาสนา  กาลิเลโอสนับสนุนทฤษฎีของโคเปอร์นิคัส
                   และเป็นผู้บุกเบิกกล้องโทรทรรศน์ยุคแรก ๆ  แต่คุณูปการของกาลิเลโออยู่ในกลศาสตร์ คือ การหักล้าง

                   ทฤษฎีของอริสโตเติล (Aristotle.  384-322 B.C.E. (ยุคก่อนปฏิทินปัจจุบัน)) ที่ว่า วัตถุที่หนักกว่าจะตก

                   ลงพื้นโลกเร็วกว่าวัตถุซึ่งเบากว่า  ที่รู้จักกันในชื่อว่า  กฎแห่งการตกโดยอิสระ (Law of Free Fall)
                   นอกจากนั้นยังเป็นคนแรกที่น าภาษาคณิตศาสตร์ซึ่งเป็นนามธรรมมาใช้อธิบายโลกทางกายภาพ  และยัง

                   เน้นการทดสอบข้อสมมติฐานโดยการทดลอง  ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของวิธีการศึกษาธรรมชาติเชิงประจักษ์

                   ที่สืบทอดมาจนถึงทุกวันนี้ (โอคาชา.  2549: 2-7)
                              นิวตันเป็นผู้มีบทบาทส าคัญในการท าให้ความเชื่อมั่นในวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

                   เพราะเชื่อกันว่าทฤษฎีของนิวตันได้แสดงให้เห็นถึงการท างานที่แท้จริงของธรรมชาติ  และสามารถอธิบาย

                   ทุกสิ่งทุกอย่างได้  ดังที่คาปร้ากล่าวไว้ในจุดเปลี่ยนแห่งศตวรรษ ความตอนหนึ่งว่า


                               กลศาสตร์แบบนิวตันประสบความส าเร็จอย่างสูงสุดในศตวรรษที่ 18 และ 19  ทฤษฎีแบบ

                               นิวตันช่วยให้สามารถอธิบายการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์  ดวงจันทร์  และดาวหาง  ลงไป



                               3  การแยกส่วน (Fragmentation) หมายถึง การที่ส่วนทั้งหมด (ที่พิจารณาศึกษา) ถูกแยกออกจากกัน  และส่วนย่อย
                   ที่ถูกแยกออกมานั้น  ไม่ได้อยู่ในฐานะอันเป็นองค์ประกอบย่อยของส่วนทั้งหมดเดิมอีกต่อไป  แต่กลายเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ด ารงอยู่อย่าง
                   โดด ๆ หาความสัมพันธ์กับส่วนอื่นใดมิได้  (วีระ สมบูรณ์.  2550: 30)



                                                       เอกสารประกอบการสอนรายวิชากระบวนทัศน์ทางการศึกษา พรใจ ลี่ทองอิน | 16
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27