Page 16 - สมเด็จพระเจ้าวรวงศ์-เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
P. 16
๒. ประติมากรรม
ประติมากรรม เป็นงานศิลปกรรมอีกแขนงหนึ่งซึ่งสนพระทัยมาก แต่จากหลักฐาน เท่าที่ค้นคว้าได้จะพบ
ข้อจ ากัดคล้ายคลึงกับงานจิตรกรรม อย่างไรก็ดีอาจจ าแนกงานประติมากรรมฝีพระหัตถ์ ออกได้เป็นประเภท
ใหญ่ๆ ดังนี้
๒.๑ งานออกแบบพระพุทธรูปและงานอันเนื่องด้วยพระพุทธศาสนา อันได้แก่
๒.๑.๑ พระพุทธไสยาสน์ วัดราชาธิวาสวรวิหาร
๒.๑.๒ พระโพธิสัตว์ศรีอาริยะเมตไตรยและพระพุทธรูปจ าลอง วัดเบญจมบพิตร
๒.๑.๓ พระพุทธคันธราษฎร์
๒.๑.๔ การออกแบบรูปจ าหลักใบเสมา พระอุโบสถวัดพระปฐมเจดีย์
๒.๒ การออกแบบพระบรมราชานุสาวรีย์ : นับตั้งแต่สมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่
ประชาชนชาวสยามได้รวบรวมเงินบริจาคกัน เพื่อสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ หรือที่เรียกกัน ติดปากว่า
“อนุสาวรีย์พระบรมรูปทรงม้า” นั้น ความคิดดังกล่าวจึงไม่ใช่เรื่องใหม่อีกต่อไป งานออกแบบพระบรมรา
ชานุสาวรีย์พระมหากษัตริย์รัชกาลอื่นจึงบังเกิดขึ้นตามมา สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ได้
ทรงออกแบบพระบรมราชานุสาวรีย์อยู่ ๒ แห่ง คือ
๒.๒.๑ พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช : ในวาระเฉลิมฉลองพระ
นครครบ ๑๕๐ ปี ในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงรับเป็นผู้ออกแบบ โดย
ได้ทรงท าแบบร่างขึ้นมา และมอบหมายให้ นาย ซี. เฟโรจี หรือศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ประติมากรชาวอิ
ตาเลียน ซึ่งเข้ามารับราชการตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๖ เป็นผู้ขยายแบบปั้นและหล่อ
๒.๒.๒ พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว : ในปี พ.ศ. ๒๔๗๖ โรงเรียน
วชิราวุธวิทยาลัย มีมติที่จะจัดสร้างพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงตั้งคณะกรรมการ
สร้างฯ เข้าทูลขอให้สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงออกแบบเพื่อประดิษฐานภายในบริเวณ
โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย