Page 32 - Annual Report 2552
P. 32
PDMO PUBLIC DEBT
MANAGEMENT
OFFICE
2) การกู้เงินใหม่ของรัฐวิสาหกิจ
สบน. ได้พิจารณาจัดหาเงินกู้ให้กับรัฐวิสาหกิจจากแหล่งเงินกู้ที่มีเงื่อนไข และต้นทุนที่เหมาะสมเพื่อให้
รัฐวิสาหกิจมีแหล่งเงินทุนเพียงพอต่อการใช้จ่ายตลอดจนการดำาเนินโครงการ/แผนงาน ได้อย่างต่อเนื่อง โดยใน
ปีงบประมาณ 2552 รัฐวิสาหกิจมีการกู้เงินเพื่อดำาเนินโครงการลงทุน และเพื่อดำาเนินกิจการทั่วไปและอื่นๆ
รวมทั้งสิ้น 213,447.85 ล้านบาท โดยมีการกู้เงินที่สำาคัญ เช่น การกู้เงินเพื่อดำาเนินโครงการลงทุนต่างๆ ของ
การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โครงการทางพิเศษสายบางพลี-
สุขสวัสดิ์ และโครงการทางพิเศษรามอินทราวงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย
โครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ของการรถไฟแห่งประเทศไทย นอกจากนี้ ยังมี
การกู้เงินเพื่อรองรับการปล่อยสินเชื่อโครงการรับจำานำาผลผลิตทางการเกษตรของธนาคารเพื่อการเกษตรและ
สหกรณ์การเกษตร เป็นต้น
2.2 การบริหารหนี้
1) การบริหารหนี้รัฐบาล
1.1) การ Roll-over ตั๋วเงินคลังเพื่อบริหารดุลเงินสด วงเงิน 80,000 ล้านบาท และตั๋วเงินคลังที่ได้กู้
มาเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณที่สะสมมาในช่วงปีงบประมาณ 2542-2547 วงเงิน 67,000 ล้านบาท ทั้งนี้
ในส่วนของตั๋วเงินคลังที่ได้กู้มาเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณที่สะสมมาในช่วงปีงบประมาณ 2542-2547
ได้ดำาเนินการปรับโครงสร้างหนี้โดยแปลงเป็นพันธบัตรระยะยาว จำานวน 19,000 ล้านบาท
1.2) การ Roll-over พันธบัตรรัฐบาลที่ครบกำาหนดไถ่ถอน 3 รุ่น วงเงินรวม 40,000 ล้านบาท โดย
กู้เงินระยะสั้นจากสถาบันการเงิน 5 แห่ง ตามจำานวนดังกล่าวมาชำาระคืนในวันที่ครบกำาหนดจากนั้นได้ออก
พันธบัตรรัฐบาล 3 รุ่น วงเงินรวม 37,740 ล้านบาท สมทบกับเงินส่วนเกินจากการประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อ
การปรับโครงสร้างหนี้ จำานวน 2,260 ล้านบาท เพื่อนำาไปชำาระคืนต้นเงินกู้ระยะสั้น ทำาให้สามารถลดหนี้คงค้าง
ได้ 2,260 ล้านบาท
รายงานประจำาปี 2552 ANNUAL REPORT 2009 31