Page 34 - Annual Report 2552
P. 34
PDMO PUBLIC DEBT
MANAGEMENT
OFFICE
3. การบริหารจัดการหนี้สาธารณะต่างประเทศ
สบน. ได้ใช้เครื่องมือทางการเงินและพิจารณาช่วงเวลาที่ตลาดการเงินและตลาดอัตราแลกเปลี่ยนเอื้ออำานวย
ดำาเนินการบริหารหนี้ในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งแบ่งได้เป็น
การกู้เงินใหม่ : สบน. ร่วมกับการรถไฟแห่งประเทศไทยพิจารณาแนวทาง รูปแบบ และเงื่อนไขการกู้เงินเพื่อ
ดำาเนินโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต ของการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยกระทรวงการคลังได้
ให้ความเห็นชอบแนวทาง รูปแบบ และเงื่อนไขการกู้เงินจากต่างประเทศ และได้ลงนามผูกพันการกู้เงินกับ
รัฐบาลญี่ปุ่นผ่านองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น จำานวน 63,018 ล้านเยน หรือเทียบเท่า
23,134.41 ล้านบาท เพื่อใช้ดำาเนินโครงการดังกล่าว
การบริหารหนี้ : สบน. ได้ดำาเนินการบริหารหนี้ต่างประเทศเพื่อลดต้นทุนการกู้ยืมเงิน โดยได้ชำาระคืนหนี้เงินกู้
ธนาคารพัฒนาเอเชียก่อนครบกำาหนด 6 สัญญา วงเงินเทียบเท่า 1,459.70 ล้านบาท โดยใช้งบชำาระหนี้ที่สามารถ
ประหยัดได้ ทำาให้สามารถลดหนี้คงค้างได้ 1,459.70 ล้านบาท และลดภาระดอกเบี้ย จำานวน 74.42 ล้านบาท
การดำาเนินงานตามแผนกลยุทธ์ (Strategic Plan) และกำาหนดตัวชี้วัด (Key Indicators)
ในการบริหารหนี้และความเสี่ยง
เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการหนี้สาธารณะในเชิงรุก สบน. ได้พัฒนาแบบจำาลองบริหาร
ความเสี่ยง (Risk Model) ระยะที่ 2 ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2551 เพื่อใช้สำาหรับการวิเคราะห์ประเมินต้นทุน
และความเสี่ยงของหนี้สาธารณะในการประเมินสถานการณ์ และนำาไปสู่การตัดสินใจกำาหนดนโยบายบริหาร
หนี้สาธารณะของผู้บริหาร รวมทั้งแบบจำาลองฯ ยังช่วยในการติดตามและเฝ้าระวังความความเสี่ยง (Warning Indica-
tors) จากการเปลี่ยนแปลงของภาวะตลาดซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อ Portfolio ของหนี้สาธารณะอย่างใกล้ชิด โดยแบบ
จำาลองฯ จะสร้างตัวชี้วัดความเสี่ยงต่างๆ (Risk Indicators) ที่ครอบคลุมความเสี่ยงหลัก 3 ด้าน ได้แก่ (1) ความเสี่ยง
ด้านอัตราแลกเปลี่ยน (Foreign Exchange Rate Risk) เช่น สัดส่วนหนี้ในประเทศต่อหนี้ต่างประเทศ (Domestic : External)
(2) ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย (Interest Rate Risk) เช่น สัดส่วนหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยคงที่ต่อหนี้ที่มีอัตรา
ดอกเบี้ยลอยตัว (Fixed : Floating) ระยะเวลาเฉลี่ยที่หนี้จะครบกำาหนดอัตราดอกเบี้ยใหม่ (Average Time to Refixing : ATR)
และ (3) ความเสี่ยงในการกู้เงินใหม่เพื่อชำาระคืนหนี้ที่ครบกำาหนด (Roll-over / Refinancing Risk) เช่น ระยะ
เวลาเฉลี่ยที่หนี้จะครบกำาหนดชำาระ (Average Time to Maturity : ATM) ซึ่งดัชนีชี้วัดความเสี่ยงต่างๆ ถือว่าเป็น
ตัวแปรสำาคัญต่อการกำาหนดกรอบการบริหารหนี้สาธารณะโดยรวม ดังนั้น จึงถือได้ว่า แบบจำาลองฯ เป็นเครื่องมือ
ที่มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อ สบน. ในการวิเคราะห์ความเสี่ยงและช่วยสนับสนุนการชี้แนะแนวโน้มในอนาคตเพื่อให้
เกิดการเฝ้าระวังและการเตรียมการอย่างทันท่วงที ซึ่งจะช่วยส่งเสริมความสามารถและประสิทธิภาพในการดูแล
ความเสี่ยงของ Portfolio หนี้สาธารณะ และสอดคล้องกับกลยุทธ์ในการบริหารหนี้สาธารณะในเชิงรุกของ สบน.
รายงานประจำาปี 2552 ANNUAL REPORT 2009 33