Page 40 - Annual Report 2552
P. 40
PDMO PUBLIC DEBT
MANAGEMENT
OFFICE
ต�ร�งที่ 6 : ก�รอนุญ�ตให้นิติบุคคลต่�งประเทศออกพันธบัตรหรือหุ้นกู้สกุลเงินบ�ทใน
ประเทศไทย
วงเงินที่ได้รับ วันที่ออก
นิติบุคคลต่างประเทศ อนุมัติ พันธบัตร วงเงินที่ออก อายุ อัตราดอกเบี้ย
ที่ได้รับอนุญาต (ล้านบาท) (ต่อปี)
(ล้านบาท) หรือหุ้นกู้
Agence Francaise de Development – 4,000 29 มิ.ย. 52 2,200 3 ปี 3.40%
สถาบันการเงินของรัฐบาลสาธารณรัฐฝรั่งเศส 29 มิ.ย. 52 1,800 7 ปี 4.60%
ธนาคารโลก หรือ IBRD 4,000 - - - -
บรรษัทการเงินระหว่างประเทศ หรือ IFC 4,000 - - - -
Kommunalbanken Norway – หน่วยงาน - - - -
รัฐบาลของราชอาณาจักรนอร์เวย์ 4,000
Nordic Investment Bank – สถาบันการเงิน - - - -
ของรัฐบาลกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย 4,000
Swedish Export Credit Corporation – สถาบัน 4,000 26 มิ.ย. 52 2,000 3 ปี FDR*+120
การเงินรัฐบาลของราชอาณาจักรสวีเดน 26 มิ.ย. 52 2,000 5 ปี 4.25%
Australia and New Zealand Banking Corpora- 4,000 - - - -
tion – ธนาคารเอกชนของประเทศออสเตรเลีย
Commonwealth Bank of Australia – ธนาคาร 4 มิ.ย. 52 2,000 4 ปี 3.93%
เอกชนใหญ่อันดับหนึ่งของประเทศออสเตรเลีย 4,000 4 มิ.ย. 52 2,000 7 ปี 4.80%
หมายเหตุ : * Fixed Deposit Rate คือ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำา 6 เดือน ประเภทบุคคลธรรมดาของธนาคารพาณิชย์
5. การวางระบบการดำาเนินงานและระบบการลงทุนของกองทุนบริหารเงินกู้เพื่อการปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะ
และพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศ
ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2551 สบน. ได้ดำาเนินแนวทางการออกพันธบัตรให้มีวงเงินมากพอ เพื่อสร้าง
สภาพคล่องในตลาดรองและสร้างอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงในตลาด (Benchmark) โดยมีการดำาเนินแนวทางดังกล่าว
อย่างต่อเนื่องในปีงบประมาณ 2552 โดยเฉพาะพันธบัตรรุ่นอายุ 5 ปี และ 10 ปี ที่มีวงเงินคงค้างเฉลี่ยต่อ
รุ่น 80,000-120,000 ล้านบาท รวมถึงพันธบัตรที่มีอยู่เดิมบางรุ่นที่วงเงินสูง เช่น พันธบัตรออมทรัพย์ช่วยชาติ
วงเงินกว่า 200,000 ล้านบาท ซึ่งจะครบกำาหนดชำาระในปี 2555 เป็นต้น ทั้งนี้ การปรับโครงสร้างหนี้ของ
พันธบัตรดังกล่าวเมื่อครบกำาหนดชำาระคืนจึงมีความเสี่ยงในการที่จะปรับโครงสร้างหนี้ภายในวันเดียว ทำาให้
มีความเป็นไปได้ที่อาจจะต้องดำาเนินการทยอยกู้เงินล่วงหน้าไว้ก่อนที่จะนำาไปชำาระคืนหนี้เมื่อครบกำาหนดชำาระ
ประกอบกับ สบน. ได้ให้ความสำาคัญในการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ให้เติบโตอย่างยั่งยืน โดยการออกพันธบัตร
รัฐบาลอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีพันธบัตรหล่อเลี้ยงตลาดอย่างเพียงพอและสม่ำาเสมอ แม้ในช่วงที่ไม่มีการขาดดุล
งบประมาณก็ตาม เพื่อใช้เป็นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงสำาหรับการออกตราสารหนี้ของรัฐวิสาหกิจและภาคเอกชน
ซึ่งเงินกู้ภายใต้วัตถุประสงค์ทั้งสองข้างต้นจะถูกนำามาบริหารให้มีผลตอบแทนเพื่อเป็นการช่วยลดต้นทุน
การกู้เงินของรัฐบาล โดย “กองทุนบริหารเงินกู้เพื่อการปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะและพัฒนาตลาดตราสารหนี้
ในประเทศ” (กองทุน) ที่ถูกจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 เมื่อวันที่ 2
รายงานประจำาปี 2552 ANNUAL REPORT 2009 39