Page 49 - Annual Report 2552
P. 49

จะเห็นว่าในช่วงการจัดทำาแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็งเป็นช่วงเวลาที่ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจ
            โลกในปี 2552 ที่มีแนวโน้มหดตัวอย่างรุนแรง ดังนั้น แผนงานภายใต้โครงการไทยเข้มแข็งจึงได้รับจัดสรร

            งบประมาณน้อยมากโดยคิดเป็นร้อยละ 2 เท่านั้น ทำาให้รัฐบาลต้องหาทางออกด้วยการระดมทุนประเภทอื่น เช่น

            การกู้เงิน หรือใช้นวัตกรรมทางการเงินใหม่ๆ
                   สำาหรับแหล่งเงินที่สำาคัญของโครงการมาจากการกู้เงินตามแผนการบริหารหนี้สาธารณะประจำาปี
            งบประมาณ พ.ศ. 2552 คิดเป็นร้อยละ 36 และการกู้เงินภายใต้พระราชกำาหนดให้อำานาจกระทรวงการคลัง

            กู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ. 2552 ร้อยละ 31 โดยการกู้เงินจากต่างประเทศ

            ส่วนใหญ่เป็นโครงการที่มีสัดส่วนของการนำาเข้าสินค้าและบริการจากต่างประเทศ (Import Content) ที่สูง
            เพื่อลดผลกระทบต่อดุลชำาระเงินของประเทศ แต่หากตลาดการเงินในประเทศเอื้ออำานวยและเป็นประโยชน์ต่อ
            การพัฒนาระบบการเงิน การคลัง และตลาดทุน อาจกู้เป็นเงินบาททดแทนเงินกู้ต่างประเทศได้โดยอาจกู้ยืม

            จากสถาบันการเงิน หรือระดมทุนผ่านตลาดตราสารหนี้ในประเทศ

                   อย่างไรก็ดี การใช้แหล่งรายได้จากนวัตกรรมอื่นๆ นั้น ถือว่าเป็นความเสี่ยงของรัฐบาลเพิ่มขึ้นในกรณี
            ที่รัฐบาลไม่สามารถกำาหนดหลักเกณฑ์/แนวทางในการกำากับดูแลข้อจำากัดทางกฎหมายได้ทันกับการเกิดขึ้นของธุรกรรม
            ในช่องทางใหม่ ๆ เช่น การดำาเนินโครงการลงทุนภาครัฐในรูปแบบ Public       Private       Partnerships     (PPPs) หรือ

            การจดทะเบียนกองทุนที่ไม่นับเป็นหนี้สาธารณะตามพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 และ

            ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 นอกจากนี้ ยังมีข้อพึงระวังว่ารัฐบาลยังคงต้องรับความเสี่ยง (Risk sharing)
            ในด้านต่างๆ และ/หรือ ต้องเข้าไปให้การสนับสนุนหากมีการผิดนัดชำาระหนี้ ซึ่งจะเกิดเป็นภาระผูกพันในอนาคต
            (Contingent Liability) ของรัฐบาลในอนาคตด้วย ส่วนการก่อหนี้โดยการกู้เงินในประเทศและต่างประเทศโดย

            รัฐบาลนั้น  แม้จะมีต้นทุนทางการเงินที่ต่ำากว่าการกู้เงินโดยหน่วยงานอื่น (เนื่องจากรัฐบาลมีระดับเครดิตที่ดีและ

            ได้รับเงินกู้เงื่อนไขผ่อนปรนต่างๆ)  และมีความเสี่ยงจากการไม่ได้รับจัดสรรงบประมาณชำาระหนี้ที่เพียงพอ  แต่ก็
            ถือเป็นภาระทางการคลังที่โปร่งใสในระบบงบประมาณมากกว่า

                    4) กรอบการระดมทุนตามพระราชกำาหนดให้อำานาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้าง
            ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ. 2552 (วงเงิน 350,000 ล้านบาท)

                       มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2552 และ 13 ตุลาคม 2552 ได้อนุมัติกรอบการจัดสรรวงเงินกู้
            ภายใต้พระราชกำาหนดให้อำานาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ. 2552
            วงเงินรวม 350,000 ล้านบาท เพื่อใช้ระดมทุนสำาหรับโครงการที่ไม่ได้รับจัดสรรงบประมาณ โดยโครงการภายใต้

            วงเงินดังกล่าวจะต้องมีความพร้อมในการดำาเนินงานและใช้จ่ายเงินลงทุนได้ภายในปีงบประมาณ 2553 สนับสนุน

            นโยบายรัฐบาลหรือการแก้ไขปัญหาสำาคัญเร่งด่วน มีกิจกรรมการลงทุนที่กระตุ้นให้เกิดผลผลิตและการจ้างงาน
            ในประเทศ และไม่เน้นการใช้เงินตราต่างประเทศ และไม่ก่อภาระผูกพันด้านงบประมาณรายจ่ายของรัฐบาล
            ในอนาคต ในลักษณะรายจ่ายประจำา












   48     รายงานประจำาปี 2552 ANNUAL REPORT 2009
   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54