Page 51 - Annual Report 2552
P. 51

สำาหรับรูปแบบของ PPPs ในประเทศไทยจะเน้นที่ความเป็นเจ้าของสินทรัพย์ (Built) เช่น BTO
            (Built-Transfer-Operate) BOT (Built-Operate-Transfer) BOOT (Built-Own-Operate-Transfer) และ

            BOO (Built-Own-Operate) โดยมีเนื้อหาหลักว่าใครจะเป็นผู้ลงทุน (รัฐหรือเอกชน) ขึ้นอยู่กับความคุ้มค่า
            ทางการเงิน Value for Money (VfM) และการกระจายความเสี่ยง (Risk Allocation) เช่น ความเสี่ยง
            ตลอดอายุโครงการ ผลกระทบที่เกิดจากความเสี่ยง และผู้รับผิดชอบความเสี่ยงนั้นๆ และเพื่อให้สามารถ

            ดำาเนินโครงการ ในลักษณะ PPPs ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยขณะนี้กรมบัญชีกลางกำาลังอยู่ระหว่างแก้ไข

            พระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำาเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.  2535  (พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ)
            ทั้งนี้  ในส่วนของการจัด  Priority  Sector ยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัด  แต่ได้มีการกำาหนดสาขาที่มีความเป็นไปได้
            ในการดำาเนินงาน PPPs เช่น สาขาขนส่ง (ถนน/สะพาน ทางพิเศษ/ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สถานีขนส่ง

            ผู้โดยสารรถไฟฟ้ารถไฟความเร็วสูง/รถไฟท่าเรือ ท่าอากาศยาน ศูนย์การขนส่งสินค้า) สาขาทรัพยากรน้ำา

            (การผลิตน้ำาประปา) สาขาสาธารณสุข (โรงพยาบาล/ศูนย์สาธารณสุข) สาขาการศึกษา (โรงเรียน สถาบัน
            อุดมศึกษา) สาขาอื่นๆ (ที่พักอาศัย ศูนย์ประชุม)


            สรุป


                    การจัดหาแหล่งเงินทุนเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำาเนินโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง  2555
            เป็นผลการดำาเนินงานของ สบน. ที่สนับสนุนนโยบายของรัฐบาลที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ที่ 3 การจัดหาแหล่ง
            เงินทุนที่เหมาะสม เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืน โดยมุ่งหวังให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจและการจ้างงาน

            ในประเทศ เนื่องจากโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 จะต้องผ่านการกลั่นกรองโครงการให้

            สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีการกำาหนดระเบียบการบริหารโครงการเพื่อเป็นแนวทางในการดำาเนินโครงการ
            และการติดตามเร่งรัดโครงการที่เหมาะสมเพื่อให้ การดำาเนินโครงการดังกล่าวสอดคล้องกับแผนงานที่ได้วางไว้
            และเกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว ซึ่งในภาพรวมอาจกล่าวได้ว่า โครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555

            สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้ในระดับหนึ่ง โดยสามารถกระจายรายได้ให้แก่ชุมชน และมีส่วนทำาให้การเจริญเติบโต

            ทางเศรษฐกิจกลับเป็นบวกได้อีกครั้งหนึ่ง


























   50     รายงานประจำาปี 2552 ANNUAL REPORT 2009
   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56