Page 154 - ทักษะการเรียนรู้ (ทร21001) ม.ต้น
P. 154
146
ข้อมูลเกี่ยวกับวิชาการ
ข้อมูลทางวิชาการ คือ ข้อมูลที่เป็นความจริงที่มีการพิสูจน์แล้ว หรือค้นพบจากการทดลองแล้ว
เก็บหรือบันทึกไว้ในรูปแบบต่าง ๆ เป็นทฤษฎีหรือหลักวิชาแล้วน ามาใช้แก้ปัญหา ใช้อ้างอิงให้เหมาะกับ
เหตุการณ์และความจ าเป็นของสถานการณ์ ข้อมูลทางวิชาการมี 2 ประเภท คือ
ข้อมูลปฐมภูมิ คือ ข้อมูลที่ผู้ใช้เป็นผู้คิดค้น เก็บรวบรวมเอง เช่น ข้อมูลจากการทดลองหรือจาก
การศึกษาค้นคว้ามาเป็นระยะยาวนานของภูมิปัญญาต่าง ๆ
ข้อมูลทุติยภูมิ คือ ข้อมูลที่ผู้ใช้น ามาจากผู้คนหรือหน่วยงานอื่น ๆ ที่ท าการศึกษาหรือรวบรวม
บันทึกไว้ในอดีต เช่น ข้อมูลที่รวบรวมมาจากเอกสารรายงานการวิจัย ข้อมูลที่อ้างมาจากผู้ที่รับฟังมาจาก
แหล่งความรู้ต่าง ๆ เป็นต้น
ข้อมูลที่เป็นความรู้ทางวิชาการพื้นฐานที่คนในสังคมจะต้องใช้ในชีวิตประจ าวันมีอยู่มากมาย
เช่น การใช้ภาษา คณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์ที่เป็นทฤษฎีการค้นพบทุกศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ใน
เรื่องการลงทุน รายรับรายจ่าย การตลาด กฎหมายข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับปวงชน ข้อมูลทางการแพทย์
อาหารและยา และข้อมูลทางการเกษตร เป็นต้น
ข้อมูลเกี่ยวกับสังคมสิ่งแวดล้อม
เนื่องจากคนมีวิถีชีวิตด ารงอยู่กันเป็นชุมชนและสังคม คนในชุมชนมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน
มากบ้าง น้อยบ้างขึ้นอยู่กับการเกาะเกี่ยวที่มีอยู่ในอดีตที่แตกต่างกัน และขึ้นอยู่กับธรรมชาติ วัฒนธรรม
ประเพณี และความเชื่อที่ยึดถือกันมาแต่ดั้งเดิม การด าเนินการใด ๆ ในชุมชนจะกระทบกับคนในชุมชน
ด้วยเสมอ จะหนักหรือเบาขึ้นอยู่กับบริบทของความผูกพันที่มีอยู่ในชุมชนนั้น ๆ การคิดการตัดสินใจ
ใด ๆ ที่จะไม่กระทบกระเทือนวิถีชุมชน หรือให้มีการกระทบกระเทือนน้อยที่สุด จึงควรจะต้องน าเอา
ข้อมูลของชุมชน และสังคมมาประกอบการคิดการตัดสินใจอยู่เสมอ ข้อมูลทางสังคม สิ่งแวดล้อมที่ควร
จะน ามาพิจารณาประกอบการคิด การตัดสินใจ ได้แก่ ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับเศรษฐกิจและสังคม การ
ประกอบอาชีพ วัฒนธรรม จารีตประเพณี การปกครองท้องถิ่น สุขภาพอนามัย การศึกษาและแหล่งเรียนรู้
สภาพการบริโภคทรัพยากรธรรมชาติ สภาพความสัมพันธ์ระหว่างบ้าน วัด โรงเรียน มัสยิด ประวัติ
รากเหง้าความเป็นมาของชุมชน เอกลักษณ์และอัตลักษณ์ของชุมชนที่คนภาคภูมิใจ รวมทั้งกิจกรรม
กระบวนการเรียนรู้ ความเอื้ออาทร ความเป็นเครือญาติ ความเข้มแข็งของชุมชน ฯลฯ เป็นต้น
3.2 เทคนิคการเก็บข้อมูลประกอบการคิดเป็น
การเก็บและรวบรวมข้อมูลประกอบการคิด การตัดสินใจอย่างคนคิดเป็นนั้น มักจะใช้ความ
เรียบง่ายไม่ซับซ้อนในทางวิชาการมากนัก เพราะผู้เรียนซึ่งเป็นผู้เก็บข้อมูลจะเป็นคนในชุมชนอยู่กับ
ชุมชน มีวิถีชีวิตที่คุ้นเคยกับวิถีชุมชนนั้น ๆ อยู่แล้ว การเก็บข้อมูลอาจใช้กระบวนการ ตาดู (สังเกต)