Page 10 - รายงานโครงการน้ำอุปโภค-บริโภค ปี60
P. 10
โครงการพัฒนาแหล่งน้ําบาดาลเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ําอุปโภค - บริโภค ประจําปีงบประมาณ 2560
2. หลักการและเหตุผล
การขาดแคลนน้ําเพื่อการอุปโภคบริโภค เป็นปัญหาของประชาชนในชนบทของไทย สาเหตุ เกิดจาก
สภาวการณ์ฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานานทําให้แหล่งน้ําผิวดินของชุมชนแห้ง พื้นที่เหล่านี้กรมป้องกันและบรรเทาสา
ธารณภัย จะประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินฝนทิ้งช่วง/ภัยแล้งมากบ้างน้อยบ้างเป็นประจําทุกปี
บางปีสภาวการณ์ภัยแล้งเกิดขึ้นเกือบทั่วประเทศ รัฐบาลได้แก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วยการก่อสร้างระบบประปา
หมู่บ้าน ซึ่งสามารถแก้ไขปัญหาได้เฉพาะหมู่บ้านที่มีแหล่งน้ําสําหรับระบบประปาเท่านั้น ยังคงมีหมู่บ้านที่อยู่ใน
ชนบทที่ยังคงได้รับผลกระทบจากสภาวะภัยแล้ง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพถูมิอากาศ ทําให้ฤดูกาล
เปลี่ยนแปลงไป ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล แหล่งน้ําผิวดินที่มีอยู่แห้ง และไม่มีบ่อน้ําบาดาลเป็นแหล่งน้ําสํารองหรือมี
บ่อน้ําบาดาลเดิมอยู่แล้วแต่ปริมาณไม่เพียงพอ ส่งผลให้ส่วนราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แก้ไขเฉพาะ
หน้าด้วยการนําน้ําไปแจกจ่ายให้ชาวบ้านทุกปี
จากปัญหาการขาดแคลนน้ําสะอาดที่มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นในอนาคต รัฐบาลได้เล็งเห็นถึงความสําคัญใน
การแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน จึงได้ดําเนินการตาม “แผนยุทธศาสตร์บริหารจัดการน้ํา” ในระยะเร่งด่วน ให้กับ
หมู่บ้านที่ไม่มีระบบประปา และไม่มีแหล่งน้ําผิวดิน จํานวน 2,728 หมู่บ้าน ภายในปี 2559 และเจาะบ่อน้ํา
บาดาล พร้อมติดตั้งเครื่องสูบ จํานวน 8,332 หมู่บ้าน โดยจัดทํา “โครงการพัฒนาแหล่งน้ําบาดาลเพื่อแก้ไข
ปัญหาการขาดแคลนน้ําอุปโภคบริโภค” ให้หมู่บ้านทั่วประเทศ มีน้ําสะอาดเพื่อการอุปโภคบริโภคอย่างพอเพียง
และทั่วถึง รวมถึงการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้นทั้งนี้ ต้องดําเนินการให้ทุกหมู่บ้านมีน้ําสะอาด
และสามารถใช้เพื่อการอุปโภคบริโภคได้อย่างเพียงพอในพื้นที่ทั่วประเทศ ภายในปี พ.ศ. 2564
จากการเจาะบ่อน้ําบาดาล ในพื้นที่เหล่านี้จําเป็นต้องใช้วิชาการด้านอุทกธรณีชั้นสูง สํารวจหาแหล่งน้ํา
บาดาล และต้องใช้บุคลากรเฉพาะด้านที่มีความเชี่ยวชาญ ส่วนการก่อสร้างบ่อน้ําบาดาลจะต้องใช้เครื่องจักรที่มี
ประสิทธิภาพสูง พร้อมกับช่างเจาะบ่อน้ําบาดาลที่มีทักษะ จึงจะเจาะบ่อน้ําบาดาลได้มีประสิทธิภาพ ให้น้ําได้ใน
ปริมาณมาก
การแก้ไขปัญหาภัยแล้งด้วยการเจาะบ่อน้ําบาดาล เพื่อช่วยเหลือชาวบ้านให้ทันเวลา โดยมีกรมทรัพยากร
น้ําบาดาล เป็นหน่วยงานหลัก ที่มีเครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพ จึงจะสามารถปฏิบัติงานสนองต่อความต้องการของ
ประชาชนได้ทันช่วงเวลา
3. วัตถุประสงค์
3.1 เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ขาดแคลนน้ําทั่วประเทศมีน้ําเพียงพอต่อการทําระบบประปาบาดาล และแก้ไข
ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนที่ขาดแคลนน้ําเพื่อการอุปโภคบริโภคทั่วประเทศ
3.2 เพื่อตอบสนองนโยบายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ําเพื่อการอุปโภคบริโภค
เชิงบูรณาการ
3.3 เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ทุกหมู่บ้านมีน้ําสะอาดใช้อุปโภคบริโภคอย่างเพียงพอและทั่วถึง
4. ความสอดคล้องกับแผนนโยบายของรัฐบาล
4.1 มีความสอดคล้องกับแผนบรรเทาภัยแล้งระยะกลางและระยะยาวที่รัฐบาลได้ประกาศไว้ และ
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้รับมอบหมายให้เป็นเจ้าภาพหลักในประเด็นยุทธศาสตร์การ
บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ําอย่างเป็นระบบ ประชาชน
ในพื้นที่ประสบภัยแล้งหรือเสี่ยงภัยแล้งได้รับการจัดหา พัฒนา และปรับปรุงแหล่งน้ําบาดาล เพื่อตอบสนองความ
ต้องการในการดํารงชีวิตและการผลิตทางเศรษฐกิจอย่างพอเพียง
สํานักทรัพยากรน้ําบาดาล เขต 10 อุดรธานี 1-2
กรมทรัพยากรน้ําบาดาล