Page 9 - รายงานโครงการน้ำอุปโภค-บริโภค ปี60
P. 9

โครงการพัฒนาแหล่งน้ําบาดาลเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ําอุปโภค - บริโภค ประจําปีงบประมาณ 2560


                                                              บทที่1
                                                              บทนํา


                   1. ความเป็นมา

                          ภาวะภัยแล้งที่ก่อให้เกิดปัญหาขาดแคลนน้ําอุปโภคบริโภคในประเทศไทย ได้เกิดขึ้นเป็นประจําทุกปี ในช่วง
                   ฤดูฝนระยะที่ฝนทิ้งช่วง ระหว่างปลายเดือนมิถุนายน -  กรกฎาคม และช่วงฤดูหนาวต่อเนื่องจนถึงฤดูร้อน ระหว่าง
                   ปลายเดือนตุลาคม - เมษายน ทําให้ปริมาณน้ําไม่เพียงพอต่อการอุปโภคบริโภคและการผลิตทางเศรษฐกิจ

                   โดยเฉพาะการเกษตรกรรม ในระยะ 8 ปีที่ผ่านมา (ปี 2547-2555) ภาวะภัยแล้งมีความถี่และรุนแรงขึ้นอย่าง
                   ต่อเนื่อง สร้างความเสียหายรวมกันคิดเป็นมูลค่ากว่า 12,000 ล้านบาท
                          ภัยแล้งเกี่ยวข้องโดยตรงกับปริมาณน้ําฝนที่ตกในแต่ละปี  ประเทศไทยมีฝนตกเฉลี่ยทั้งปีประมาณ 1,425
                   ม.ม. โดยร้อยละ 80  เป็นฝนที่เกิดจากลมประจําฤดู ได้แก่ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (พ.ค. -  ต.ค.) และลมมรสุม
                   ตะวันออกเฉียงเหนือ (ต.ค. -  ม.ค.) ที่เหลือเป็นฝนจากลมจร ได้แก่ พายุดีเปรสชั่น พายุโซนร้อน พายุใต้ฝุ่น และ

                   พายุไซโคลน (พ.ค. - พ.ย.) หากปีใดมีเฉพาะฝนที่เกิดจากลมประจําฤดูกาลโดยไม่มีฝนจากลมจรมาเสริม ปีนั้นจะ
                   เกิดภาวะฝนแล้ง ในช่วงที่เกิดภัยแล้งรุนแรงที่สุด (ประเมินไว้เป็นเดือนมีนาคม พ.ศ. 2548) มีหมู่บ้านที่ประสบ
                   ปัญหาภัยแล้งมากถึง 44,519 หมู่บ้านใน 71 จังหวัด (คิดเป็นร้อยละ 60 ของจํานวนหมู่บ้านทั้งหมดทั่วประเทศ)

                   โดยเป็นหมู่บ้านในภาคตะวันออกเฉียงเหนือถึง 25,745 หมู่บ้าน หรือมากกว่าครึ่งหนึ่งของหมู่บ้านประสบภัยแล้งทั่ว
                   ประเทศ
                          ความเสี่ยงต่อภัยแล้งและการขาดแคลนน้ําในอนาคตคาดว่าจะมีมากขึ้น เนื่องจากความต้องการในน้ํา
                   เพิ่มขึ้น จากการเพิ่มของประชากรและกิจกรรมการผลิตทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ขณะที่การก่อสร้างแหล่งกักเก็บน้ํา

                   เพิ่มเติม โดยเฉพาะขนาดใหญ่มีข้อจํากัดจากลักษณะภูมิประเทศและการต่อต้าน รวมทั้งแหล่งน้ําที่มีอยู่แล้วทั้งที่
                   สร้างขึ้น    และตามธรรมชาติ ยังมีความจุที่ลดลงจากการตื้นเขินและขาดการบํารุงรักษา
                               จากเหตุการณ์วิกฤตภัยแล้งดังกล่าวกรมทรัพยากรน้ําบาดาลได้ทําการคัดเลือกพื้นที่ที่มีศักยภาพน้ํา
                   บาดาลเพียงพอต่อการผลิตน้ําประปาเพื่อการอุปโภคบริโภค และเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดภัยแล้งของกรมพัฒนา

                   ที่ดินเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ําดิบสําหรับการผลิตน้ําประปาเพื่อการอุปโภคบริโภคของประเทศไทย พบว่ามี
                   พื้นที่ ดังนี้

                               ระดับภัยแล้ง                              ศักยภาพน้ําบาดาล

                                                           (เพียงพอต่อการผลิตน้ําประปาเพื่อการอุปโภคบริโภค)
                             เสี่ยงภัยแล้งมาก                              1,243  แห่ง
                           เสี่ยงภัยแล้งปานกลาง                            14,677  แห่ง

                                  รวม                                      15,920 แห่ง


                           จากผลการศึกษาดังกล่าวกรมทรัพยากรน้ําบาดาลจึงได้เลือกพื้นที่ที่อยู่ในเกณฑ์เสี่ยงภัยแล้งปานกลาง
                   และมาก มาดําเนินการจัดทํา “โครงการพัฒนาแหล่งน้ําบาดาลเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ําอุปโภคบริโภค”

                   ขึ้นเพื่อช่วยให้โดยประชาชนในพื้นที่ประสบภัยแล้งมีน้ําดิบเพียงพอในการผลิตน้ําประปาสําหรับการ อุปโภค
                   บริโภคอย่างเพียงพอทุกฤดูกาลเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและเพียงพอต่อการดํารงชีวิตอย่างยั่งยืนตลอดไป




                   สํานักทรัพยากรน้ําบาดาล เขต 10 อุดรธานี     1-1
                   กรมทรัพยากรน้ําบาดาล
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14