Page 12 - สารพิษในชีวิตประจำวัน
P. 12

3

                                                            บทที่ 1


                                                         ความเป็นพิษ


                  ตอนที่ 1  ความเป็นพิษ                          ปกติผู้ที่สัมผัสกับสารเคมีกําจัดศัตรูพืชโดยตรง ได้แก่
                                                        เกษตรกรผู้ฉีดพ่นและผู้ที่ทํางานเกี่ยวข้องกับการบรรจุ ขนส่ง

                                                        จะได้รับพิษโดยตรงแต่สําหรับผู้บริโภคจะได้รับพิษทางอ้อม
                                                        ซึ่งเกิดจากการบริโภคผลผลิตทางการเกษตรที่มีสารเคมีปน

                                                        เปื้อนหรือตกค้างอยู่ ซึ่งการได้รับสารพิษตกค้างในอาหารแม้

                                                        อาจจะได้รับในปริมาณต่ํา แต่การที่ได้รับเป็นประจํา สารพิษ
                                                        อาจสะสมเป็นปัญหาเรื้อรังและส่งผลกระทบต่อระบบการ
                       ภาพที่ 1 การใช้สารเคมี           ทํางานต่างๆ ในร่างกาย เช่น
                  ที่มาของภาพ http://www.safetechthailand.net

                         - ส่งผลกระทบต่อระบบประสาท ซึ่งสารเคมีกําจัดศัตรูพืชจํานวนมาก มีอันตรายต่อระบบสมองและ

                  ประสาทโดยจะก่อให้เกิดปัญหาทางด้านความจําเสื่อม สมาธิสั้นต่างๆ
                         - ส่งผลกระทบต่ออวัยวะภายในของร่างกาย ซึ่งร่างกายจะมีกลไกตามธรรมชาติในการกําจัดสารพิษที่

                  ได้รับโดยอวัยวะที่มีหน้าที่หลักในการกําจัดสารพิษคือ ตับ รองลงมาคือ ไต หากร่างกายได้รับสารพิษเข้าไปเป็น
                  ประจําก็จะทําให้อวัยวะเหล่านี้ทํางานหนัก จนอาจเกิดปัญหาต่างๆ ตามมาได้

                         - ส่งผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ซึ่งสารเคมีกําจัดศัตรูพืชบางชนิด รบกวนการทํางานของ
                  ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทําให้ร่างกายอ่อนแอลง ทําให้ง่ายต่อการติดเชื้อต่างๆได้

                         - ส่งผลกระทบต่อระบบสมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย โดยส่งผลกระทบต่อต่อมไร้ท่อ (Endocrine

                  gland)  ที่มีหน้าที่ในการผลิตหรือสร้างฮอร์โมน ทําให้ต่อมไร้ท่อเหล่านี้ทํางานผิดปกติไป เช่น ทําให้เป็นหมัน
                  การผลิตอสุจิมีจํานวนน้อยลงในเพศผู้

                         - ส่งผลกระทบก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีและเกิดการเปลี่ยนแปลงระดับเซลล์ของร่างกาย

                  จนอาจเป็นสาเหตุทําให้ร่างกายอ่อนแอ ก่อให้เกิดการเจ็บป่วยและการเกิดโรคมะเร็งต่างๆ เหล่านี้เป็นอันตราย
                  หรือผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้กับผู้บริโภคที่มีร่างกายแข็งแรง แต่สําหรับผู้บริโภคอีกกลุ่มหนึ่งที่เป็นทารกและ

                  เด็กเล็กที่ส่วนต่างๆของร่างกายยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ หรือยังไม่สมบูรณ์ และผู้ป่วยที่ร่างกายไม่แข็งแรง จะมี
                  ความไวต่อการได้รับสัมผัสสารพิษตกค้าง แม้ว่าจะได้รับในปริมาณที่ต่ําและมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดการ

                  กลายพันธุ์
                                     จากข้อมูลของคณะทํางานด้านสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (Environmental

                  Working Group) รายงานว่า การเกิดโรคมะเร็งสมองและมะเร็งเม็ดเลือดขาวในเด็กชาวอเมริกันตั้งแต่ปี 2516

                  มีเพิ่มขึ้น 33% และสาเหตุการตายเนื่องจากมะเร็งมากกว่าโรคอื่นๆ สําหรับช่วงอายุที่พบ จะพบมากในเด็กที่มี
                  อายุต่ํากว่า 14 ปี และจากผลการศึกษาวิจัยระดับการตกค้างของสารพิษในอาหารของเด็กทารก 8 ชนิด พบว่า

                  มีสารเคมีกําจัดศัตรูพืชตกค้างสูงถึง 52 % ชนิดสารที่พบมีถึง 16 ชนิด อาหารที่พบส่วนใหญ่จะพบสารพิษ

                  มากกว่า 2 ชนิดในตัวอย่างเดียวกัน และในบรรดาสารพิษ 16 ชนิดที่ตรวจพบนี้ พบว่าส่วนใหญ่เป็นสารในกลุ่ม
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17