Page 17 - สารพิษในชีวิตประจำวัน
P. 17

8

                                              บทที่ 2 สารพิษและการเข้าสู่ร่างกาย


                         ในการทํางานกับสารเคมี ต้องระลึกไว้เสมอว่ามีโอกาสที่สารเคมีสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ตลอดเวลา

                  ช่องทางที่สารเคมีจะเข้าสู่ร่างกายที่สําคัญมี 4  ช่องทาง คือ จากการหายใจ (Inhalation)  จากการสัมผัสกับ
                  ผิวหนังหรือดวงตา (Contact with Skin or Eyes)  จากการกินหรือเข้าสู่ระบบทางเดินอาหาร (Digestion)

                  และจากการฉีดหรือผ่านบาดแผลตามร่างกายที่เกิดจากอุบัติเหตุขณะทํางานกับสารเคมี (Injection)  ลักษณะ

                  สําคัญของช่องทางที่สารพิษเข้าสู่ร่างกายทั้ง 4 วิธี มีรายละเอียดและลักษณะสําคัญโดยสังเขป ดังต่อไปนี้
                         1. การหายใจ

                                สารพิษที่จะเข้าสู่ร่างกายโดยผ่านระบบทางเดินหายใจ ได้แก่  สารประเภทก๊าซ ไอของ
                  ของเหลวที่ระเหยออกมา ละอองของสารเคมี หรือ ผง ฝุ่น และ เส้นใย เป็นต้น การสูดหายใจเอาสารเคมี

                  เหล่านี้เข้าไปในร่างกายสามารถทําให้เกิดความเป็นพิษได้โดยการดูดซับผ่านเยื่อบุและเมือกในบริเวณ ปาก คอ
                  และปอด ทําให้เนื้อเยื่อถูกทําลายอย่างรุนแรง นอกจากนี้สารพิษยังอาจผ่านเข้าไปยังระบบหลอดลม และถุงลม

                  ย่อยในปอดและซึมต่อไปเข้าสู่ระบบหมุนเวียนของโลหิตได้ การดูดซับที่บริเวณปอดมักจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว

                  เนื่องมาจากผนังปอดจะมีพื้นที่ผิวค่อนข้างสูงถึงประมาณ  75 – 100 ตารางเมตร
                                ส่วนใดของร่างกายที่จะเป็นอันตราย ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น ความสามารถในการละลาย

                  ของสารพิษ ความต้านทานของเนื้อเยื่อที่ถูกสัมผัส และความสามารถในการดูดซับของเนื้อเยื่อ ดังนั้น สารเคมีที่

                  มีความสามารถในการละลายในน้ําได้ดี เช่น เมทานอล (Methanol)  แอซีโทน (Acetone)  ไฮโดรเจนคลอไรด์
                  (Hydrogen chloride) แอมโมเนีย (Ammonia) หรือ ฟอร์มัลดีไฮด์ (Formaldehyde) จะละลายได้ทันทีที่เข้า

                  สู่ระบบท่อต่าง ๆ ในจมูกและลําคอ และมักพบว่าสารเหล่านี้จะสะสมตัวอยู่ที่บริเวณเนื้อเยื่อในจมูกหรือลําคอ
                  ในทางตรงกันข้าม สารเคมีที่มีความสามารถในการละลายในน้ําได้น้อย เช่น โอโซน (Ozone)    ฟอสจีน

                  (Phosgene)  หรือไนโตรเจนออกไซด์ (Nitrogen  oxide)  มักจะสามารถเคลื่อนที่ต่อไปยังส่วนลึกของระบบ
                  หายใจ คือบริเวณหลอดลมย่อย ส่วนก๊าซหรือไอของสารเคมีที่ไม่ละลายในน้ํา เช่น เบนซิน (Benzene)

                  ไดคลอโรมีเทน (Dichloromethane) หรือไตรคลอโรเอทิลิน (Trichloroethylene) จะสามารถเคลื่อนที่ต่อไป

                  จนไปสะสมได้ถึงบริเวณภายในปอด เป็นต้น
                                ในกรณีของสารพิษที่เป็นของแข็งและอยู่ในลักษณะเป็น ฝุ่น ผง หรือละออง ร่างกายจะมี

                  ระบบป้องกันและกําจัดออกจากร่างกายได้โดยขึ้นอยู่กับขนาดของสารพิษ ดังนั้น ขนาดของฝุ่น ผง หรือละออง

                  จะเป็นปัจจัยที่ชี้บ่งว่าสารพิษจะสะสมอยู่ในบริเวณใดของระบบทางเดินหายใจ เช่น ถ้ามีขนาดใหญ่กว่า 5
                  ไมครอน จะตกค้างอยู่บริเวณส่วนต้นของจมูก ขนาดระหว่าง 1 ถึง 5 ไมครอน  จะตกค้างอยู่บริเวณหลอดลม

                  และหลอดลมย่อยหากมีขนาดเล็กกว่า 1 ไมครอน จะสามารถผ่านไปสู่ส่วนในของปอดหรือหลอดลมฝอยใน
                  ปอดได้
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22