Page 18 - สารพิษในชีวิตประจำวัน
P. 18
9
2. การสัมผัสกับผิวหนังหรือดวงตา
การสัมผัสกับผิวหนังเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการได้รับอันตรายจากสารเคมีที่พบได้อยู่เสมอใน
อัตราที่ค่อนข้างสูงในระหว่างการปฏิบัติงาน สารเคมีหลายชนิดสามารถทําให้เกิดอันตรายกับผิวหนังได้โดยตรง
เช่น ทําให้เกิดความระคายเคือง ไปจนถึงอาการแพ้ สารกัดกร่อนทําให้เกิดการไหม้ของผิวหนังในบริเวณที่
สัมผัสและสารพิษบางชนิดสามารถซึมผ่านผิวหนังเข้าไปสู่ระบบหมุนเวียนโลหิตได้
การเข้าสู่ร่างกายจากการสัมผัส อาจเกิดผ่านช่องทางต่าง ๆ อาทิเช่นรูขุมขน ต่อมไขมัน
ต่อมเหงื่อ และผิวหนังชั้นนอก เป็นต้น ปัจจัยต่าง ๆ ที่จะทําให้การเข้าสู่ร่างกายได้มากน้อย จะขึ้นอยู่กับความ
เข้มข้นของสารเคมี
การสัมผัสบริเวณดวงตาเป็นเรื่องอันตราย
ที่รุนแรงที่สุดเนื่องจากดวงตาเป็นส่วนของ
ร่างกายที่ละเอียดอ่อนมากที่สุดส่วนหนึ่ง
ดวงตาเป็นส่วนที่มีเส้นประสาทและเส้น โลหิต
ฝอยมาหล่อเลี้ยงมากมาย จึงเป็นแหล่งที่จะ
ภาพที่ 2 แสดงวิธีการล้างตาเมื่อสัมผัสกับสารพิษ ดูดซับสารพิษต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว สารเคมี
ที่มาของภาพ http://www.thailovehealth.com ส่วนใหญ่จะเป็นอันตรายต่อดวงตา ตั้งแต่ทํา
ให้เกิดการระคายเคือง สร้างความเจ็บปวด
สูญเสียความสามารถในการมองเห็น ไปจนถึงทําให้ตาบอดอย่างถาวรได้ พบว่ามีสารเคมีเพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้น
ที่ไม่เป็นอันตรายต่อดวงตา สารเคมีมีความว่องไวหรือความรุนแรงในการทําปฏิกิริยาเคมีของสารเคมี
ความสามารถในการละลายน้ํา สภาพและลักษณะความหนาบางของผิวหนังบริเวณที่ได้รับการสัมผัส และ
ระยะเวลาที่สัมผัส
3. การกินหรือการเข้าสู่ระบบทางเดินอาหาร
มีสารเคมีหลายชนิดที่เป็นอันตรายอย่างมาก หากเข้าสู่ร่างกายผ่านระบบทางเดินอาหาร อัน
ประกอบด้วย ปาก หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลําไส้เล็ก และลําไส้ใหญ่ นอกจากนี้สารเคมีที่เข้าสู่ระบบ
ทางเดินอาหารจะถูกดูดซึมต่อไปยังระบบหมุนเวียนโลหิตได้อีกด้วย สารเคมีประเภทกัดกร่อน เช่น กรด หรือ
ด่างเข้มข้น จะทําอันตรายเนื้อเยื่อต่าง ๆ ในระบบทางเดินอาหารได้โดยตรง
ปัจจัยที่ทําให้เกิดอันตรายต่อระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ สมบัติกายภาพของสารเคมี สมบัติ
ในการละลายของสารเคมี รวมไปถึงลักษณะการดูดซึมของเนื้อเยื่อในส่วนต่าง ๆ พื้นที่ผิว และระยะเวลาที่
สารเคมีสัมผัสกับเนื้อเยื่อเหล่านั้น สารเคมีบางชนิดจะมีสมบัติทําให้เพิ่มการดูดซึมของระบบทางเดินอาหารทํา
ให้ความเป็นพิษเกิดได้รวดเร็วขึ้น สารเคมีที่เป็นของแข็งหรือละลายได้น้อยมักจะไม่ถูกดูดซับได้ง่ายและจะถูก
ขับออกจากร่างกายสารเคมีที่ละลายได้ดีในน้ํามันหรือไขมัน ได้แก่ สารเคมีอินทรีย์ต่าง ๆ มักจะถูกดูดซึมและ
ตกค้างอยู่ในระบบทางเดินอาหารได้ดีกว่าสารเคมีที่ละลายได้ดีในน้ํา