Page 51 - 21-พัฒน์ธนัท ธนาพรรณรัตน์
P. 51
เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบ่งแยกตามขอบเขตการต่อเชื่อมว่าต้องการใช้ในระยะใกล้หรือไกล
ประเภทสำาคัญ ๆ ดังนี้
1. เครือข่ายบริเวณเฉพาะที่ (Local Area Network : LAN)
2. เครือข่ายบริเวณกว้าง (Wide Area Network : WAN)
3. เครือข่ายนครหลวง (Metropolitan Area Network : MAN)
4. เครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Internet)
เครือข่ายแลน (Local Area Network : LAN)
ลักษณะสำาคัญของเครือข่ายแลน คือ อุปกรณ์ที่ประกอบภายในเครือข่ายสามารถรับ
สัญญาณกันด้วยความเร็วสูงมาก โดยทั่วไปมีความเร็วตั้งแต่หลายสิบล้านบิตต่อวินาที
จนกว่าพันล้านบิตต่อวินาที การสื่อสารในระยะใกล้จะมีความเร็วในการสื่อสาร ทำาให้
การรับส่งข้อมูลมีความผิดพลาดน้อย และสามารถรับส่งข้อมูลจำานวนมากในเวลาจำากัด
ได้ เครือข่ายแลนจึงเป็นเครือข่ายที่มีบทบาทสำาคัญในการเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ใน
องค์กรและมีแนวโน้มที่จะทำาให้ทรัพยากรและการประมวลผลในองค์กรเชื่อมโยงเป็นระบบ
เดียวทำาให้ใช้งานร่วมกันได้ทั้งองค์กร เครือข่ายแลนหรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ท้องถิ่นเป็น
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารที่อยู่ในท้องที่บริเวณ
เดียวกันเข้าด้วยกัน เช่น ภายในอาคาร หรือภายในองค์การที่มีระยะทางไม่ไกลมากนัก
พิเศษในการลดปัญหาข้อมูลผิดพลาดของการรับส่งสัญญาณ เครือข่ายแวนเป็นเครือข่ายที่ทำาให้
เครือข่ายแลนหลาย ๆ เครือข่ายเชื่อมถึงกันได้
เครือข่ายแวน (Wide Area Network : WAN)
เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ในระยะไกล เช่น เชื่อมโยงระหว่าง
จังหวัด ระหว่างประเทศ การสร้างเครือข่ายระยะไกล จึงต้องอาศัยระบบบริการเครือข่าย
สาธารณะ เช่น สารวงจรเช่าจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย หรือ จากการสื่อสารแห่ง
ประเทศไทย ใช้วงจรสื่อสารผ่านดาวเทียมใช้วงจรสื่อสารเฉพาะกิจที่มีให้บริการแบบสาธารณะ
เครือข่ายแวนจึงเป็นเครือข่ายที่ใช้กับองค์การที่มีสาขาห่างไกล และต้องการเชื่อมสาขาเหล่านั้น
เข้าด้วยกัน เช่น ธนาคารมีสาขาทั่วประเทศมีบริการ รับฝากเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม เครือข่ายแวน
เชื่อมโยงระยะไกลมาก จึงมีความเร็วในการสื่อสารไม่สูงเนื่องจาก มีสัญญาณรบกวนในสาย และ
การเชื่อมโยงระยะไกลจำาเป็นต้องใช้เทคนิคพิเศษในการลดปัญหาข้อมูลผิดพลาดของการรับส่ง
สัญญาณ เครือข่ายแวนเป็นเครือข่ายที่ทำาให้เครือข่ายแลนหลาย ๆ เครือข่ายเชื่อมถึงกันได้
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเครือข่าย 51