Page 132 - chewa
P. 132

130                                                                          รายงานประจำาปี 2560










             ภาพรวมและภาวะเศรษฐกิจ



             ในประเทศไทยปี 2560





                ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในปี 2560 มีการขยายตัวเล็กน้อย โดยผู้ประกอบการเห็นว่า กลุ่มที่อยู่อาศัยแนวราบขยายตัวในเกือบทุก
            ภูมิภาคโดยเฉพาะที่อยู่อาศัยระดับกลาง ถึงระดับบน ตามความต้องการที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคและการขยายตัวของเมือง ยกเว้น
            ในภาคเหนือตอนล่างที่ก�าลังซื้อยังไม่เข้มแข็งพอ แต่ส่วนใหญ่จะใช้ระยะเวลาในการขายนานขึ้น มากกว่าในช่วงที่ผ่านมา โดยที่
            พักอาศัยแนวสูงยังคงขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง และยังพบภาวะอุปทานส่วนเกินในบางพื้นที่ เช่น พื้นที่ในต่างจังหวัด และแนว
            รถไฟฟ้าสายสีม่วง ยกเว้นกลุ่มตลาดคอนโดมิเนียมระดับบน บริเวณใจกลางกรุงเทพฯ ที่ยังเติบโตได้ดีอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ
            จากลูกค้าชาวจีนและ ไต้หวัน อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการเห็นว่าสัญญาณการเก็งก�าไรจากกลุ่มลูกค้าดังกล่าวยังไม่มากเท่าปีที่ผ่าน
            มา ส่วนหนึ่งเป็นเพราะตลาดอสังหาริมทรัพย์ยังไม่ขยายตัวเต็มที่  และ ผู้ประกอบการเห็นว่าสถาบันการเงินยังคงระมัดระวังการ
            ให้สินเชื่อโครงการอสังหาริมทรัพย์มากขึ้น (Pre - finance) จึงท�าให้ผู้ประกอบการท้องถิ่นบางรายต้องเลือกกู้ยืมจากบริษัทลิสซิ่ง
            แทนสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (Post - finance) โดยเฉพาะในกลุ่มลูกค้าระดับกลาง - ล่าง จะส่งผลกระทบให้การระบายสต๊อกที่อยู่
            อาศัยได้ช้าลงกว่าในอดีต รวมถึงการชะลอโครงการลงทุนใหม่ๆออกไป ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ประเมินว่าธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยัง
            คงเผชิญความเสี่ยงจากภาวะการแข่งขันที่รุนแรง ก�าลังซื้อที่ยังไม่เข้มแข็ง และความระมัดระวังในการให้สินเชื่อของสถาบันการเงิน
            และต้นทุนค่าแรงงานที่คาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้น และยังมีความกังวลเกี่ยวกับภาษีที่ดินที่ยังไม่ชัดเจนด้วย ผู้ประกอบการหลายราย
            จึงปรับตัวในหลากหลายรูปแบบ เช่น การไม่สะสมที่ดิน การพัฒนาโครงการขนาดเล็กลง การเรียกเก็บเงินดาวน์ในสัดส่วนที่สูงขึ้น
            การประเมินสินเชื่อก่อนการเข้าท�าสัญญาจะซื้อจะขาย (Pre - approve) เพื่อคัดกรองลูกค้าก่อนยื่นขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน
            การเพิ่มมูลค่าที่พักด้วยการตกแต่งเฟอร์นิเจอร์เพื่อปรับราคาขายขึ้น รวมถึงการเน้นหารายได้อย่างต่อเนื่อง (Recurring income)
            เช่น การให้ร้านสะดวกซื้อมาเปิดในโครงการ ฯลฯ

                 ในช่วงปลายปี 2560 ผู้ประกอบการส่วนใหญ่คาดว่าตลาดอสังหาริมทรัพย์จะปรับดีขึ้นตามแนวโน้มเศรษฐกิจ และความเชื่อมั่น
            ของประชาชน รวมถึงความคาดหวังที่จะได้รับผลดีจากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐที่ชัดเจนขึ้น ร่วมถึงการขยายสาขา
            ของร้านค้าปลีกสมัยใหม่ (Modern trade) ซึ่งจะช่วยเร่งขยายตัวเมือง ซึ่งผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ ยังเห็นว่าร่างพระราชบัญญัติ
            ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (ภาษีที่ดิน) ใหม่ จะช่วยกระตุ้นให้ผู้ที่ถือครองที่ดินเพื่อการเก็งก�าไรบางส่วนมีการทยอยขายที่ดินออก
            มาบ้าง ซึ่งอาจจะส่งผลดีให้เกิดการพัฒนาที่ดินให้เป็นประโยชน์ อย่างไรก็ดี ยังคงมีความกังวลต่อร่างภาษีที่ดินอยู่บ้างเพราะมี
            บางประเด็นที่ยังขาดความชัดเจนในทางปฏิบัติ เช่น การเริ่มนับระยะเวลาผ่อนปรนทางภาษี 3 ปี การพิสูจน์วัตถุประสงค์ของการ
            ถือครองที่ดินและการตีความนิยามที่ดินรกร้าง นอกจากนี้ผู้ประกอบการเห็นว่าการคิดภาษีที่ดินในบางพื้นที่ เช่น ภาระจ�ายอม
            ส่วนกลางของอาคารชุด และการเก็บภาษีลาภลอยอาจเป็นการเรียกเก็บภาษีที่ซ�้าซ้อนและมากเกินไป ซึ่งประเด็นเหล่านี้จะส่งผล
            ให้ผู้ประกอบการบางรายอาจต้องปรับราคาขายที่อยู่อาศัยสูงขึ้นตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้น

            (ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย)
   127   128   129   130   131   132   133   134   135   136   137