Page 12 - งานนำเสนอ PowerPoint
P. 12
๑.๓ การตีบท หมายถึง การใส่ท่าทางตามบทร้องหรือบทเพลงเพื่อสื่อความหมายให้
ผู้ชมเข้าใจตามความหมายและอารมณ์ของเพลง โดยทั่วไปเพลงที่จะน ามาประดิษฐ์ท่า
ร าจะต้องมี ๒ ลักษณะ คือเพลงบรรเลง หมายถึง เพลงที่มีแต่ท านองและจังหวะ ไม่มี
เนื้อร้องประกอบ และเพลงมีบทร้อง หมายถึง เพลงที่มีทั้งท านอง จังหวะ และเนื้อ
เพลงบรรยายอิริยาบทของตัวละครประกอบด้วย กรณีที่เพลงเป็นเพลงบรรเลงนั้นนัก
นาฏยประดิษฐ์ก็จะลดภาระของการใส่ท่าร าลง แต่ถ้าหากว่าเป็นเพลงที่ต้องใช้บทร้อง
ประกอบ เช่น เพลงแม่บท เพลงกฤดาภินิหาร หรือจะเป็นเพลงที่ประพันธ์ขึ้นใหม่ใน
โอกาสอันสมควร กล่าวคืออวยพรในโอกาสที่ส าคัญต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นงานมงคล หรือ
งานในโอกาสพิเศษอื่น ๆ ถ้าหากบทเพลงมีเนื้อร้องก็เป็นความจ าเป็นที่จะต้องใช้การตี
บทมาเกี่ยวข้องด้วยเช่นเดียวกัน จากประสบการณ์ของผู้เขียนเห็นว่าการใส่ท่าร าตาม
บทมีหลักส าคัญต้องท าความเข้าใจเป็นพื้นฐาน คือ ท่าร าที่เป็นแบบแต่
โบราณ เช่น ท่าร าที่ปรากฏในการร าแม่บทใหญ่ แม่บทเล็ก และท่าร าที่เป็นท่า
ระบ า คือท่าร าที่ปรากฏในชุดการแสดงระบ าต่าง ๆ นั่นเอง
๒. การขับร้องเพลงไทย เป็นเอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นมรดกตกทอดทาง
วัฒนธรรมอีกอย่างหนึ่ง เพลงไทยมีเอกลักษณ์ คือ การเอื้อน ที่สร้างความไพเราะ และ
บทร้องใช้ภาษาทางวรรณกรรม ก่อให้เกิดอารมณ์คล้อยตาม หวั่นไหวไปตามเรื่องราว
ของบท สามารถแบ่งประเภทของการขับร้องเพลงไทยเดิม แบ่งได้ ๔ วิธี