Page 15 - งานนำเสนอ PowerPoint
P. 15

ประเภทของการแสดงนาฏศิลป์


              ประเภทของการแสดงนาฏศิลป์ไทย แบ่งออกตามลักษณะของรูปแบบการแสดง

       เป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้   ๔  ประเภท คือ  โขน  ละคร  ร า  ระบ า  และนาฏศิลป์

       พื้นเมือง  ดังนี้

       ๑. โขน  หมายถึง  เป็นการแสดงนาฏศิลป์ชั้นสูงของไทยที่มีเอกลักษณ์คือ ผู้แสดง

       จะต้องสวมหัวที่เรียกว่าโขน และใช้ลีลาท่าทางการแสดงด้วยการเต้นไปตามบทพากย์

       การเจรจาของผู้พากย์และตามท านองเพลงหน้าพาทย์ด้วยวงปี่พาทย์ เรื่องที่นิยม

       น ามาแสดง คือ พระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ แต่งกายเลียนแบบเครื่องทรง

       ของพระมหากษัตริย์ที่เป็นเครื่องต้น เรียกว่า การแต่งกายแบบ “ยืนเครื่อง” มีจารีต

       ขั้นตอนการแสดงที่เป็นแบบแผน นิยมจัดแสดงเฉพาะงานพิธีส าคัญ ได้แก่ งานพระราช

       พิธีต่าง ๆ

       ๒. ละคร  หมายถึง  เป็นศิลปะการร่ายร าที่เล่นเป็นเรื่องราว มีพัฒนาการมาจากการเล่า

       นิทาน ละครมีเอกลักษณ์ในการแสดงและการด าเนินเรื่องด้วยกระบวนลีลาท่าทาง เข้า

       บทร้อง ท านองเพลงและเพลงหน้าพาทย์ที่บรรเลงด้วยวงปี่พาทย์มีแบบแผนการเล่นที่

       เป็นทั้งของชาวบ้านและของหลวงที่เรียกว่า ละครโนราชาตรี ละครนอกและละครใน

       เรื่องที่นิยมน ามาแสดงคือ พระสุธน สังข์ทอง คาวี อิเหนา   อุณรุท นอกจากนี้ยังมี

       ละครที่ปรับปรุงขึ้นใหม่อีกหลายชนิด การแต่งกายของละครจะเลียนแบบเครื่องทรง

       ของพระมหากษัตริย์ เรียกว่า การแต่งกายแบบยืนเครื่อง นิยมเล่นในพิธีส าคัญและงาน

       พระราชพิธีของพระมหากษัตริย์
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20