Page 18 - งานนำเสนอ PowerPoint
P. 18
๔.๒ การแสดงพื้นเมือง หมายถึง การละเล่นที่มีการแสดงการร่ายร า มีเพลงดนตรี
ประกอบ ที่ได้วางเป็นแบบแผน และนิยมเล่นหรือถ่ายทอดสืบต่อกันมาจนแพร่หลายการ
แสดงพื้นเมือง อาจเกิดจากการบูชาบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น ขอให้สิ่งที่ตนนับถือ
ประทานสิ่งที่ตนปรารถนา หรือขจัดปัดเป่าสิ่งที่ไม่ปรารถนา นอกจากนี้ ก็เป็นการแสดง
เพื่อความบันเทิงรื่นเริง การแสดงพื้นเมืองสามารถแบ่งออกเป็นภูมิภาคได้ ๔ ภาค ดังนี้
๔.๒.๑ การแสดงพื้นเมืองภาคเหนือ เป็นศิลปะการร า และการละเล่นหรือที่
นิยมเรียกกันทั่วไปว่า“ ฟ้อน ” การฟ้อนเป็นวัฒนธรรมของชาวล้านนา และกลุ่มชนเผ่า
ต่าง ๆ เช่น ชาวไต ชาวลื้อ ชาวยอง ชาวเขิน เป็นต้น ลักษณะของการฟ้อน แบ่งเป็น ๒
แบบ คือ แบบดั้งเดิม และแบบที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ แต่ยังคงมีการรักษาเอกลักษณ์ทางการ
แสดงไว้คือมีลีลาท่าร าที่แช่มช้า อ่อนช้อยมีการแต่งกายตามวัฒนธรรมท้องถิ่นที่สวยงาม
ประกอบกับการบรรเลงและขับร้องด้วยวงดนตรีพื้นบ้าน เช่น วงสะล้อ ซอ ซึง วงปู่เจ่วง
กลองแอว เป็นต้น โอกาสที่แสดงมักเล่นกันในงานประเพณี หรือต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง
ได้แก่ ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ฟ้อนครัวทาน ฟ้อนสาวไหม และฟ้อนเจิง
๔.๒.๒ การแสดงพื้นเมืองภาคกลาง เป็นศิลปะการร าและการละเล่นของชนชาว
พื้นเมืองภาคกลางซึ่งส่วนใหญ่มีอาชีพเกี่ยวกับเกษตรกรรม ศิลปะการแสดงจึงมีความ
สอดคล้องกับวิถีและเพื่อความบันเทิงสนุกสนานเป็นการพักผ่อนหย่อนใจจากการท างาน
หรือเมื่อเสร็จจากเทศกาลฤดูเก็บเกี่ยว เช่น การเล่นเพลงเกี่ยวข้าว เต้นก าร าเคียว ร าโทน
หรือร าวง ร าเถิดเทิง ร ากลองยาว เป็นต้น มีการแต่งกายตามวัฒนธรรมของท้องถิ่น
และใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้าน เช่น กลองยาว กลองโทน ฉิ่ง ฉาบ กรับ และโหม่ง