Page 14 - งานนำเสนอ PowerPoint
P. 14

๓. ดนตรีไทย  หมายถึง  เป็นเสียงที่เกิดจากความสั่นสะเทือนของวัตถุที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น

       หรือจากเสียงของมนุษย์เอง ท าให้เกิดท านอง สูง ต่ า มีช่วงจังหวะสม่ าเสมอ  ดนตรีไทย

       เกิดขึ้นจากการผสมวงที่เป็นเอกลักษณ์โดยการน าเอาเครื่องดนตรีหลาย ๆ ชิ้นมาผสมผสาน

       เสียงจนสามารถรวมเป็นวงใหญ่   สามารถแบ่งตามประเภทของการบรรเลงที่เป็นระเบียบมา

       แต่โบราณกาลจนถึงปัจจุบันเป็น ๓ ประเภท คือ  วงปี่พาทย์  วงเครื่องสาย  และวงมโหรี  ดังนี้

       ๓.๑  วงปี่พาทย์  หมายถึง วงดนตรีที่ประกอบด้วยเครื่องตีเป็นส าคัญ  เช่น  ฆ้อง  กลอง และมี

       เครื่องเป่าเป็นประธานได้แก่  ปี่  นอกจากนั้น วงปี่พาทย์ยังแบ่งไปได้อีกคือ วงปี่พาทย์ชาตรี,

       วงปี่พาทย์ไม้แข็ง,  วงปี่พาทย์เครื่องห้า,  วงปี่พาทย์เครื่องคู่,  วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่,  วงปี

       พาทย์ไม้นวม,  วงปี่พาทย์มอญ,  วงปี่พาทย์นางหงส์

       ๓.๒  วงเครื่องสาย  หมายถึง  วงดนตรีที่เครื่องดนตรี ที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีที่มีสายเป็น

       ประธาน มีเครื่องเป่า และเครื่องตี เป็นส่วนประกอบ ได้แก่ ซอด้วง ซออู้ จะเข้ เป็นต้น ปัจจุบัน

       วงเครื่องสายมี  ๔  แบบ คือ วงเครื่องสายเครื่องเดี่ยว,วงเครื่องสายเครื่องคู่,วงเครื่องสาย

       ผสม,วงเครื่องสายปี่ชวา

       ๓.๓ วงมโหรี  ในสมัยโบราณเป็นค าเรียกการบรรเลงโดยทั่วไป เช่น “มโหรีเครื่องสาย”

       “มโหรีปี่พาทย์” ในปัจจุบัน มโหรี ใช้เป็นชื่อเรียกเฉพาะวงบรรเลงอย่างหนึ่งอย่างใดที่มี

       เครื่อง ดีด สี ตี เป่า มาบรรเลงรวมกันหมด ฉะนั้นวงมโหรีก็คือวงเครื่องสาย และวงปี่พาทย์

       ผสมกัน วงมโหรีแบ่งเป็น วงมโหรีเครื่องสี่,วงมโหรีเครื่องหก,วงมโหรีเครื่องเดี่ยว หรือ

       มโหรีเครื่องเล็ก,วงมโหรีเครื่องคู่

       ๔.  การแต่งกาย   หมายถึง   เครื่องห่อหุ้มร่างกายของนักแสดง  เพื่อความสวยงาม  ตาม

       ระเบียบวิธีปฏิบัติที่ต้องการของการแสดงนั้น ๆ  นอกจากนี้การแต่งกายยังเป็นสิ่งบ่งชี้ความ

       เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของความเป็นไทย การแต่งกาย ของนาฏศิลป์ เน้นความประณีตบรรจง

       การสร้างเครื่องแต่งกาย การแสดง เพื่อบ่งบอก ฐานะ อุปนิสัย รสนิยมความคิดอ่าน อาชีพ

       และบทบาทของตัวละคร  การแต่งกายของการแสดงไทย  มีระเบียบปฏิบัติที่งดงาม  สามารถ

       แต่งได้หลายแบบ  เช่น แต่งแบบศิลปะละครร า   แต่งแบบสี่ภาค และแต่งแบบประยุกต์อื่น ๆ

       ทั้งนี้รูปแบบการแต่งกายนั้นจะต้องสื่อถึงชุดการแสดงนั้น ๆ ด้วย
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19