Page 38 - ศาสนาและหน้าที่พลเมือง ม.ต้น
P. 38
30
พระพุทธศาสนาในประเทศตาง ๆ รวมหลายสายดวยกัน โดยเฉพาะไดทรงสงพระมหินท-
เถระ ผูเปนพระราชบุตรไปประกาศศาสนาในลังกาทวีป ซึ่งเปนผลใหพระพุทธศาสนา
ประดิษฐานมั่นคงในประเทศลังกาจวบจนปจจุบันนี้
2. พระพุทธศาสนาไปสูประเทศพมา พุทธศาสนิกชนชาวพมามีความเชื่อกันวา
พระโสณะกับพระอุตตระสมณทูตของพระเจาอโศกมหาราช ซึ่งเดินทางไปเผยแผ
พระพุทธศาสนาที่สุวรรณภูมินั้นก็คือ ไปสูเมืองสะเทิม (Thaton) ของพมานั้นเอง เพียงแตวา
ในสมัยนั้นเปนอาณาจักรมอญหรือตะเลง กลาวคือ มอญหรือตะเลงครอบครองเมืองพะโค
(หรือเปกูหรือหงสาวดี) และเมืองสะเทิม (หรือสุธัมมาวดี) แตนักประวัติศาสตรบางคน
ก็กลาววา พระพุทธศาสนาไปสูประเทศพมาภายหลังพุทธ-ปรินิพพานแลว ประมาณ
พันปเศษ คือ จับเอาประวัติศาสตรตอนที่พระเจาอโนรธามังชอ หรืออนุรุทธะ นับถือ
พระพุทธศาสนาและเผยแผพระพุทธศาสนา
3. พระพุทธศาสนาไปสูประเทศไทย พุทธศาสนิกชนชาวไทยก็เชื่อคลายชาวพมาวา
พระพุทธศาสนาไปสูประเทศไทยครั้งแรกเมื่อพระโสณะและพระอุตตระเดินทางไป
ประกาศศาสนาที่สุวรรณภูมิและเชื่อวาบริเวณพระปฐมเจดียและใกลเคียงจะเปน
สุวรรณภูมิ เพราะไดขุดพบโบราณวัตถุรุนราวคราวเดียวกับสมัยพระเจาอโศกมหาราช
หลายอยางตกลงวาถาเชื่อตามนี้พระพุทธศาสนาก็ไปสูประเทศพมาและไทยไมเกิน
พ.ศ. 300 แตนักประวัติศาสตรบางคนก็เชื่อวาพระพุทธศาสนาไปสูประเทศไทยประมาณ
คริสตศตวรรษที่ 1 หรือ 2 คือ ประมาณ พ.ศ. 544 ถึง พ.ศ. 743
4. พระพุทธศาสนาไปสูประเทศกัมพูชาตามรายงานของผูแทนกัมพูชาตอพุทธศาสนิก
สัมพันธแหงโลก พระพุทธศาสนาไปสูประเทศนั้น ประมาณศตวรรษที่ 3 แหงคริสตศักราช
คือ เมื่อ พ.ศ. 743 ปลวงมาแลว ผูใชนามวา อาร.ซี.มชุมดา (R.C.Majumdar) ไดเขียน
เรื่องนี้ไววา การคนพบทางโบราณคดีกับประวัติศาสตรฝายจีนยืนยันตรงกันวาปลาย
ศตวรรษที่5 แหงคริสตศักราช คือ ประมาณ พ.ศ. 1000 นั้น พระพุทธศาสนาไดเจริญ
อยูแลวในกัมพูชา แมวาจะไมแพรหลายไปทั่วประเทศ ฉะนั้น จึงพอสันนิษฐานไดวา
พระพุทธศาสนาคงเขาไปสูกัมพูชาในป พ.ศ. 743 เปนตนมา
5. พระพุทธศาสนาไปสูประเทศเวียดนามหรือจัมปา ภาคใตของฝงทะเลตะวันออกของ
แหลมอินโดจีน ซึ่งเรียกวา อันนัม นั้น ปจจุบันเรียกวา เวียดนาม สมัยกอนเรียกวา จัมปา
มีหลักฐานวาพระพุทธศาสนาไดไปประดิษฐานอยูในเวียดนามกอนคริสตศตวรรษที่ 3
คือกอน พ.ศ. 744 ถึง พ.ศ. 843 เหตุผลก็คือ การพบพระพุทธรูปสําริดสมัยอมราวดี
ในประเทศนั้น และหลักฐานจากประวัติศาสตรฝายจีน