Page 15 - วิทยาศาสตร์ ม.ต้น
P. 15
14
ทักษะทางวิทยาศาสตร์และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์เป็นเรื่องของการเรียนรู้เกี่ยวกับธรรมชาติ โดยมนุษย์ใช้กระบวนการสังเกต ส ารวจ
ตรวจสอบ ทดลองเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ และน าผลมาจัดเป็นระบบหลักการ แนวคิดและ
ทฤษฎี ดังนั้น ทักษะทางวิทยาศาสตร์ จึงเป็นการปฏิบัติเพื่อให้ได้มาซึ่งค าตอบในข้อสงสัยหรือข้อ
สมมติฐานต่าง ๆ ของมนุษย์ตั้งไว้
ทักษะทางวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย
1. การสังเกต เป็นวิธีการได้มาของข้อสงสัย รับรู้ข้อมูล พิจารณาข้อมูล จากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขั้น
2. ตั้งสมมติฐาน เป็นการกระดมความคิด สรุปสิ่งที่คาดว่าจะเป็นค าตอบของปัญหาหรือข้อสงสัยนั้น ๆ
3. ออกแบบการทดลองเพื่อศึกษาผลของตัวแปรที่ต้องศึกษา โดยควบคุมตัวแปรอื่น ๆ ที่อาจมีผลต่อ
ตัวแปรที่ต้องการศึกษา
4. ด าเนินการทดลอง เป็นการจัดกระท ากับตัวแปรที่ก าหนด ซึ่งได้แก่ ตัวแปรต้น ตัวแปรตามและ
ตัวแปรที่ต้องการศึกษา
5. รวบรวมข้อมูล เป็นการบันทึกรวบรวมผลการทดลองหรือผลจากการกระท าของตัวแปรที่ก าหนด
6. แปลและสรุปผลการทดลอง
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ประกอบด้วย 13 ทักษะ ดังนี้
1. ทักษะขั้นมูลฐาน 8 ทักษะ ได้แก่
1. ทักษะการสังเกต (Observing)
2. ทักษะการวัด (Measuring)
3. ทักษะการจ าแนกหรือทักษะการจัดประเภทสิ่งของ (Classifying)
4. ทักษะการใช้ความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา (Using Space / Relationship)
5. ทักษะการค านวณและการใช้จ านวน(Using Numbers)
6. ทักษะการจัดกระท าและสื่อความหมายข้อมูล (Comunication)
7. ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล (Inferring)
8. ทักษะการพยากรณ์ (Predicting)
2. ทักษะขั้นสูงหรือทักษะขั้นผสม 5 ทักษะได้แก่
1. ทักษะการตั้งสมมุติฐาน (Formulating Hypothesis)
2. ทักษะการควบคุมตัวแปร (Controlling Variables)
3. ทักษะการตีความและลงข้อสรุป (Interpreting data)
4. ทักษะการก าหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ (Defining Operationally)
5. ทักษะการทดลอง (Experimenting)