Page 152 - วิทยาศาสตร์ ม.ต้น
P. 152

151




                     5. พายุฝนฟ้ าคะนอง (Thunderstorm)
                            พายุฝนฟ้าคะนอง  หมายถึง  อากาศที่มีฝนตกหนัก  มีฟ้ าแลบฟ้ าร้อง  เป็นฝนที่เกิดจากการพา

                     ความร้อน มีลมพัดแรง เกิดอย่างกระทันหันและยุติลงทันทีทันใด พายุฝนฟ้าคะนองเกิดจากการที่อากาศ

                     ได้รับความร้อนและลอยตัวสูงขึ้นและมีไอน ้าในปริมาณมากพอ ประกอบกับการลดลงของอุณหภูมิ จึง

                     เกิดการกลั่นตัวควบแน่นของไอน ้า  และเกิดพายุฝนฟ้ าคะนอง  พายุฝนฟ้ าคะนองประกอบด้วยเซลล์
                     อากาศจ านวนมาก ในแต่ละเซลล์จะมีอากาศไหลขึ้นและลงหมุนเวียนกัน พายุฝนฟ้ าคะนองเกิดมากใน

                     เขตร้อน เนื่องจากอากาศชื้นมากและมีอุณหภูมิสูง ท าให้มีสภาวะอากาศไม่ทรงตัว พายุฝนฟ้าคะนองมัก

                     เกิดจากเมฆคิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus)
                            5.1 ขั้นตอนการเกิดพายุฝนฟ้ าคะนอง

                            5.1.1 ระยะการเกิดเมฆคิวมูลัส (Cumulus Stage) หรือขั้นก่อตัว เมื่ออุณหภูมิผิวพื้นเพิ่มสูงขึ้น

                     จะท าให้มวลอากาศอุ่นลอยตัวขึ้นบน เกิดการกลั่นตัวของไอน ้าเป็นเมฆคิวมูลัส (Cumulus) มวลอากาศ

                     ร้อนจะลอยตัวสูงขึ้นเรื่อย ๆ ท าให้มวลอากาศยกตัวสูงขึ้นสู่เบื้องบนตลอด และเร็วขึ้น
                            5.1.2 ระยะการเกิดพายุ (Mature Stage)

                            ระยะนี้พายุจะเริ่มพัดเกิดกระแสอากาศจมตัวลม  เนื่องจากฝนตกลงมาจะดึงเอามวลอากาศให้

                     จมตัวลงมาด้วย  และมวลอากาศอุ่นก็ยังคงลอยตัวขึ้นเบื้องบนต่อไป  จากผลดังกล่าวท าให้เกิดสภาพ

                     อากาศแปรปรวน  และลมกระโชกแรง  เนื่องมาจากมวลอากาศในก้อนเมฆมีความแปรผันมาก  มีการ
                     หมุนเวียนของกระแสอากาศขึ้นลง เกิดฟ้าแลบ ฟ้าร้อง รวมทั้งอาจมีลูกเห็บตกด้วยเช่นกัน

                            5.1.3 ระยะสลายตัว (Dissipating Stage)

                     เป็นระยะสุดท้ายเมื่อศูนย์กลางพายุจมตัวลงใกล้พื้นดิน รูปทรงของเมฆจะเปลี่ยนจากเมฆคิวมูโลนิมบัส
                     (Cumulonimbus) เป็นเมฆอัลโตสเตรตัส (Altostratus) หรือ เมฆซีโรคิวมูลัส (Cirrocumulus) ฝนจะเบา

                     บางและหายไปในที่สุด

                            อย่างไรก็ตามการเกิดพายุฝนฟ้ าคะนองดังกล่าว  หากมีศูนย์กลางพายุหลายศูนย์กลางจะท าให้
                     เกิดพายุฝนฟ้ าคะนองยาวนานมาก  และเกิดกระแสอากาศที่รุนแรงมากจนสามารถท าให้เกิดลูกเห็บได้

                     ช่วงเวลาของการเกิดพายุฝนฟ้าคะนองประมาณ 1 - 2 ชั่วโมง

                            5.2 ชนิดของพายุฝนฟ้ าคะนอง

                            5.2.1 พายุฝนฟ้ าคะนองพาความร้อน (Convectional Thunderstorm)
                            เป็นพายุฝนที่เกิดจากการพาความร้อน ซึ่งมวลอากาศอุ่นลอยตัวสูงขึ้นท าให้อุณหภูมิของอากาศ

                     เย็นลง ไอน ้าจะกลั่นตัวกลายเป็นเมฆคิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus) และเกิดเป็นพายุฝนฟ้ าคะนอง มัก

                     เกิดเนื่องจากโลกได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์ ท าให้พื้นดินร้อนขึ้นมาก อากาศบริเวณพื้นดินจะลอย

                     สูงขึ้นเกิดเป็นเมฆคิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus) มักเกิดในช่วงบ่ายและเย็นในวันที่อากาศร้อนจัด
   147   148   149   150   151   152   153   154   155   156   157