Page 149 - วิทยาศาสตร์ ม.ต้น
P. 149
148
4.3.1 การเกิดพายุหมุนเขตร้อน
การเกิดพายุหมุนเขตร้อน มักเกิดบริเวณแถบเส้นศูนย์สูตรบริเวณละติจูด 8 - 15 องศาเหนือ ใต้
ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น ส่วนบริเวณเส้นศูนย์สูตรจะไม่เกิดการก่อตัวของพายุหมุนแต่อย่างใด เนื่องมาจากไม่
มีแรงลม "คอริออริส" (ซึ่งเป็นแรงเหวี่ยงที่เกิดจากการหมุนรอบตัวเองของโลก บริเวณเส้นศูนย์สูตรจะมีค่า
เป็น ศูนย์) ล าดับการเกิดของพายุหมุนเขตร้อนเป็นดังนี้
1. สภาวะการก่อตัว (Formation) มักเกิดการก่อตัวบริเวณทะเล หรือมหาสมุทร ที่มีอุณหภูมิสูง
กว่า 27 องศาเซลเซียส
2. สภาวะทวีก าลังแรง จะเกิดบริเวณศูนย์กลางความกดอากาศต ่า เกิดลมพัดเข้าสู่ศูนย์กลาง มี
เมฆและฝนตกหนักเป็นบริเวณกว้าง
3. สภาวะรุนแรงเต็มที่ (Mature Stage) มีก าลังลมสูงสุด ฝนตกเป็นบริเวณกว้างประมาณ
500 - 1,000 กิโลเมตร
4. สภาวะสลายตัว (Decaying Stage) มีการเคลื่อนตัวเข้าสู่ภาคพื้นทวีป และลดก าลังแรงลง
อันเนื่องมาจากพื้นแผ่นดินมีความชื้นน้อยลง และพัดผ่านสภาพภูมิประเทศที่มีความต่างระดับ ท าให้
พายุอ่อนก าลังลงกลายเป็นดีเปรสชั่น และสลายตัวลงไปในที่สุด
4.3.2 พายุหมุนเขตร้อนในประเทศไทย
ส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดเป็นพายุหมุนเขตร้อนที่เกิดในมหาสมุทรแปซิฟิก หรือในทะเลจีนใต้
และการเคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศไทย นอกนั้นก่อตัวในเขตมหาสมุทรอินเดีย เมื่อพิจารณาประกอบกับ
สภาพทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทยในด้านท าเลที่ตั้ง พบว่ามักไม่ค่อยได้รับอิทธิพลจากพายุใต้ฝุ่น
(Typhoon) มากนัก เนื่องจากทิศทางการเคลื่อนตัวโดยส่วนมากมีการเคลื่อนตัวจากทางด้านทะเลจีนใต้
เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยทางบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือภาคเหนือ ในช่วงเดือนกรกฎาคม ถึง
เดือนกันยายน โดยมากมักอ่อนก าลังลงกลายเป็นพายุดีเปรสชั่น หรือสลายตัวกลายเป็นหย่อมความกด
อากาศต ่าเสียก่อน เนื่องจากพายุเคลื่อนตัวเข้าสู่แผ่นดินจะอ่อนก าลังลงเมื่อปะทะกับลักษณะภูมิประเทศ
เทือกเขาสูงแถบประเทศเวียดนาม กัมพูชา และเทือกเขาชายแดนของประเทศไทยเสียก่อน ระบบการ
หมุนเวียนของลมจึงถูกกีดขวาง เป็นเหตุท าให้พายุอ่อนก าลังลงนั่นเอง ส่วนทางด้านภาคใต้ของประเทศ
ไทยมีลักษณะภูมิประเทศที่เป็นคาบสมุทรยื่นยาวออกไปในทะเล ชายฝั่งทะเลภาคใต้ทางด้านทิศ
ตะวันตกมีแนวเทือกเขาสูงชันทอดตัวยาวตลอดแนวจึงเป็นแนวกันพายุได้ดี ส่วนทางด้านภาคใต้ทางฝั่ง
ทิศตะวันออกไม่มีแนวก าบังดังกล่าวท าให้เกิดความเสียหายจากพายุได้ง่ายกว่า โดยมากมักเกิดพายุเข้า
มาในช่วงเดือนตุลาคม ถึงเดือน ธันวาคม เป็นต้น ตัวอย่างเช่น ความเสียหายร้ายแรงจากพายุใต้ฝุ่นเกย์ ที่
พัดเข้าทางด้านภาคใต้ทางด้านฝั่งทะเลตะวันออกของประเทศเมื่อ วันที่ 4 พฤศจิกายน 2532 ท าให้เกิด
ความเสียหายเป็นอย่างมาก โดยทั่วไปประเทศไทยมักจะได้รับอิทธิพลจากพายุดีเปรสชั่นมากที่สุด โดย
เฉลี่ยปีละ 3 - 4 ลูก ส าหรับการเกิดพายุหมุนเขตร้อนในประเทศไทยมักเกิดในฤดูฝน ตั้งแต่เดือน