Page 144 - วิทยาศาสตร์ ม.ต้น
P. 144

143




                     2.1 การจ าแนกมวลอากาศโดยใช้อุณหภูมิเป็นเกณฑ์


                            2.1.1. มวลอากาศอุ่น (Warm Air mass) เป็นมวลอากาศที่มีอุณหภูมิสูงกว่าอุณหภูมิของอากาศ

                     ผิวพื้นที่มวลอากาศเคลื่อนที่ผ่าน มักมีแนวทางการเคลื่อนที่จากละติจูดต ่าไปยังบริเวณละติจูดสูงขึ้นไป
                     ใช้สัญลักษณ์แทนด้วยตัวอักษร " W "

                            2.1.2 มวลอากาศเย็น (Cold Air mass) เป็นมวลอากาศที่มีอุณหภูมิต ่ากว่าอุณหภูมิผิวพื้นที่มวล

                     อากาศเคลื่อนที่ผ่าน เป็นมวลอากาศที่เคลื่อนที่จากบริเวณละติจูดสูงมายังบริเวณละติจูดต ่า ใช้สัญลักษณ์

                     แทนด้วยอักษรตัว " K " มาจากภาษาเยอรมัน คือ " Kalt " แปลว่า เย็น
                            2.2 การจ าแนกมวลอากาศโดยใช้แหล่งก าเนิดเป็นเกณฑ์

                            2.2.1 มวลอากาศขั้วโลก (Polar Air-mass)

                            2.2.1.1 มวลอากาศขั้วโลกภาคพื้นสมุทร (Marine Polar Air mass)

                     มีแหล่งก าเนิดจากมหาสมุทร เมื่อมวลอากาศชนิดนี้เคลื่อนตัวลงมายังละติจูดต ่าจะเป็นลักษณะของมวล
                     อากาศที่ให้ความเย็นและชุ่มชื้น แหล่งก าเนิดของมวลลอากาศชนิดนี้อยู่บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตอน

                     เหนือ  ใกล้ช่องแคบแบริ่ง  และเคลื่อนที่เข้าปะทะชายฝั่งทะเลของประเทศสหรัฐอเมริกา  ท าให้อากาศ

                     หนาวเย็นและมีฝนตก ในทางกลับกันถ้ามวลอากาศนี้เคลื่อนที่ไปยังบริเวณละติจูดสูง จะกลายเป็นมวล
                     อากาศอุ่น เรียกว่า "มวลอากาศอุ่นขั้วโลกภาคพื้นสมุทร" มีลักษณะอากาศอบอุ่นและชุ่มชื้น

                            2.2.1.2 มวลอากาศขั้วโลกภาคพื้นทวีป (Continental Polar Air mass)

                     มีแหล่งก าเนิดอยู่บนภาคพื้นทวีปในเขตละติจูดต ่า มีลักษณะเป็นมวลอากาศเย็นและแห้ง เมื่อมวลอากาศ

                     เคลื่อนที่ผ่านบริเวณใดจะท าให้มีอากาศเย็นและแห้ง  ยกตัวอย่างเช่น  ส าหรับประเทศไทยจะได้รับ
                     อิทธิพลจากมวลอากาศชนิดนี้ซึ่งมีแหล่งก าเนิดอยู่แถบไซบีเรีย  เมื่อเคลื่อนที่ลงมายังละติจูดต ่ากว่าลง

                     มายังประเทศไทยในช่วงเดือนพฤศจิกายน  ถึง  มกราคม  ท าให้ประเทศไทยมีอุณหภูมิต ่าลง  ลักษณะ

                     อากาศเย็นและแห้งในฤดูหนาว

                            2.2.2 มวลอากาศเขตร้อน (Topical Air mass)
                            2.2.2.1. มวลอากาศเขตร้อนภาคพื้นทวีป (Continental Topical Air mass)

                     มีแหล่งก าเนิดบนภาคพื้นทวีป จะมีลักษณะการเคลื่อนที่จากละติจูดต ่าไปสู่ละติจูดสูง ลักษณะอากาศจะ

                     ร้อนและแห้งแล้ง ท าให้บริเวณที่มวลอากาศเคลื่อนที่ผ่านมีลักษณะอากาศร้อนและแห้งแล้ง จึงเรียกมวล
                     อากาศนี้ว่า  "มวลอากาศอุ่นเขตร้อนภาคพื้นทวีป"  แหล่งก าเนิดของมวลอากาศชนิดนี้อยู่บริเวณตอน

                     เหนือของประเทศแม็กซิโก และทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศสหรัฐอเมริกา ถ้าหากมวลอากาศนี้

                     เคลื่อนที่มายังเขตละติจูดต ่าจะท าให้อุณหภูมิของมวลอากาศลดต ่าลงกว่าอุณหภูมิของอากาศผิวพื้นที่
                     มวลอากาศเคลื่อนที่ผ่านจึงกลายเป็น  "มวลอากาศเย็นเขตร้อนภาคพื้นทวีป"  มีลักษณะอากาศเย็นและ

                     แห้งแล้ง
   139   140   141   142   143   144   145   146   147   148   149