Page 145 - วิทยาศาสตร์ ม.ต้น
P. 145

144




                     2.2.2.2. มวลอากาศเขตร้อนภาคพื้นสมุทร (Marine Topical Air mass)
                     มีแหล่งก าเนิดอยู่บนภาคพื้นสมุทรจึงน าพาความชุ่มชื้น  เมื่อเคลื่อนที่ผ่านบริเวณใดจะท าให้เกิดฝนตก

                     และถ้าเคลื่อนที่ไปยังละติจูดสูงจะท าให้อากาศอบอุ่นขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ถ้ามวลอากาศเขตร้อนภาคพื้น

                     สมุทรเคลื่อนที่จากมหาสมุทรอินเดียเข้ามายังคาบสมุทรอินโดจีนจะท าให้เกิดฝนตกหนักและกลายเป็น

                     ฤดูฝน  เราเรียกมวลอากาศดังกล่าวว่า  "มวลอากาศอุ่นเขตร้อนภาคพื้นสมุทร"  ในทางกลับกันถ้ามวล
                     อากาศนี้เคลื่อนที่ไปยังเขตละติจูดต ่าจัะมีผลท าให้อุณหภูมิลดต ่าลง  อากาศจะเย็นและชุ่มชื้น  เรียกว่า

                     "มวลอากาศเย็นเขตร้อนภาคพื้นสมุทร"  นอกจากมวลอากาศที่กล่าวมาแล้วยังมีมวลอากาศที่เกิดจาก

                     แหล่งก าเนิดอื่น ๆ อีก ได้แก่ เขตขั้วโลก มีมวลอากาศอาร์กติก เป็นมวลอากาศจากมหาสมุทรอาร์กติก
                     เคลื่อนที่เข้ามาทางตอนหนือของทวีปอเมริกา  และมวลอากาศแอนตาร์กติก  เป็นมวลอากาศบริเวณขั้ว

                     โลกใต้ ซึ่งมีอากาศเย็นและเคลื่อนที่อย่างรุนแรงมาก


                     3. แนวอากาศ (Air Front) หรือแนวปะทะของมวลอากาศ

                            แนวอากาศ หรือ แนวปะทะมวลอากาศ เกิดจากสภาวะอากาศที่แตกต่างกันมาก โดยมีอุณหภูมิ

                     และความชื้นต่างกันมากมาพบกัน  จะไม่ผสมกลมกลืนกันแต่จะแยกจากกัน  โดยที่ส่วนหน้าของมวล
                     อากาศจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง ลักษณะของมวลอากาศที่อุ่นกว่าจะถูกดันตัวให้ลอยไปอยู่เหนือลิ่ม

                     มวลอากาศเย็น เนื่องจากมวลอากาศอุ่นมีความหนาแน่นน้อยกว่ามวลอากาศเย็น แนวที่แยกมวลอากาศ

                     ทั้งสองออกจากกันเราเรียกว่า  แนวอากาศ  โดยทั่วไปแล้วตามแนวอากาศหรือแนวปะทะอากาศจะมี
                     ลักษณะของความแปรปรวนลมฟ้ าอากาศเกิดขึ้น  เราสามารถจ าแนกแนวอากาศหรือแนวปะทะอากาศ

                     ของมวลอากาศได้ 4 ชนิด ดังนี้

                            3.1 แนวปะทะของมวลอากาศอุ่น (Warm Front)

                            เกิดจากการที่มวลอากาศอุ่นเคลื่อนที่เข้ามายังบริเวณที่มีมวลอากาศเย็นกว่า โดยมวลอากาศเย็น
                     จะยังคงตัวบริเวณพื้นดิน  มวลอากาศอุ่นจะลอยตัวสูงขึ้น  ซึ่งแนวของอากาศอุ่นจะมีความลาดชันน้อย

                     กว่าแนวอากาศเย็น  ซึ่งจากปรากฏการณ์แนวปะทะมวลอากาศอุ่นดังกล่าวนี้ลักษณะอากาศจะอยู่ใน

                     สภาวะทรงตัว  แต่ถ้าลักษณะของมวลอากาศอุ่นมีการลอยตัวขึ้นในแนวดิ่ง  (มีความลาดชันมาก)  จะ
                     ก่อให้เกิดฝนตกหนักและพายุฝนฟ้ าคะนอง  สังเกตได้จากการเกิดเมฆฝนเมฆนิมโบสเตรตัส  หรือการ

                     เกิดฝนซู่ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าฝนไล่ช้าง

                            3.2 แนวปะทะของมวลอากาศเย็น (Cold Front)
                            เมื่อมวลอากาศเย็นเคลื่อนตัวลงมายังบริเวณที่มีละติจูดต ่า  มวลอากาศเย็นจะหนัก  จึงมีการ

                     เคลื่อนตัวติดกับผิวดิน และจะดันให้มวลอากาศอุ่นที่มีความหนาแน่นน้อยกว่า ลอยตัวขึ้นตามความลาด

                     เอียง ซึ่งมีความลาดชันมากถึง 1:80 ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวตามแนวปะทะอากาศเย็นจะมีสภาพอากาศ

                     แปรปรวนมาก มวลอากาศร้อนถูกดันให้ลอยตัวยกสูงขึ้น เป็นลักษณะการก่อตัวของเมฆ คิวมูโลนิมบัส
   140   141   142   143   144   145   146   147   148   149   150