Page 150 - วิทยาศาสตร์ ม.ต้น
P. 150

149




                     พฤษภาคม  เป็นต้นไปจนถึงเดือนตุลาคม  จะเป็นพายุหมุนเขตร้อนที่ก่อตัวขึ้นในบริเวณมหาสมุทร
                     อินเดีย บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลจีนใต้สามารถแยกพิจารณาได้ดังนี้

                            ช่วงเดือนพฤษภาคม  ก่อนเข้าฤดูฝนอาจจะมีพายุไซโคลนจากอ่าวเบงกอล  เคลื่อนตัวเข้าสู่

                     ประเทศไทยทางด้านทิศตะวันตก ท าให้มีผลกระทบต่อภาคตะวันตกของประเทศ

                     ช่วงเดือนกรกฎาคม  ถึงเดือนกันยายน  อาจจะมีพายุใต้ฝุ่นในมหาสมุทรแปซิฟิกพัดผ่านเข้ามาทางภาค
                     ตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ท าให้มีผลกระทบต่อภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือตอนบน

                            ช่วงเดือนกันยายน ถึงปลายเดือนตุลาคม อาจจะมีพายุหมุนเขตร้อนในทะเลจีนใต้พัดผ่านเข้ามา

                     ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง  ท าให้มีผลกระทบต่อภาคตะวันออก  ภาคกลาง  ตอนล่างของ
                     ภาคเหนือ และตอนล่างของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล

                            ส าหรับช่วงต้นฤดูหนาวประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงต้นเดือนมกราคม มักจะมีความกดอากาศ

                     ต ่าในตอนล่างของทะเลจีนใต้พัดผ่านเข้ามาในอ่าวไทย ท าให้มีผลกระทบต่อภาคใต้ฝั่งตะวันออกตั้งแต่
                     จังหวัดชุมพรลงไป

                            ปัจจุบันเราสามารถทราบได้ล่วงหน้าถึงการเกิดพายุหมุนเขตร้อนและทิศทางการเคลื่อนที่โดย

                     การใช้เครื่องมือตรวจอากาศที่ทันสมัย ได้แก่ ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา เรดาร์ตรวจอากาศ เป็นต้น อย่างไร
                     ก็ตามผลกระทบจากความเสียหายอันเนื่องมาจากพายุหมุนเขตร้อน อาทิเช่น ฝนตกหนักติดต่อกันอาจ

                     ท าให้เกิดน ้าป่าไหลหลากได้  ท าให้เส้นทางคมนาคมถูกตัดขาดรวมทั้งแนวสายไฟฟ้ า  และเสาไฟฟ้ า

                     พื้นที่เกษตรกรรมได้รับความเสียหาย ตลอดจนท าให้เรือเล็กและเรือใหญ่อับปางได้


                            4.3.3 การเรียกชื่อพายุหมุน

                            ส าหรับในเขตภาคพื้นมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือด้านตะวันตก และทะเลจีนใต้ นักอุตุนิยมวิทยา
                     ได้ตั้งชื่อพายุไว้ 5 ชุด แต่ละชุดประกอบด้วยชื่อพายุหมุน 28 ชื่อ โดยความร่วมมือในการเสนอชื่อของ

                     14 ประเทศในแถบภูมิภาคดังกล่าว น ามาใช้เป็นชื่อพายุหมุนเขตร้อน การใช้จะใช้หมุนเวียนกันไปตาม

                     แถว โดยเริ่มตั้งแต่แถวแรกของสดมภ์ที่ 1 ไปจนถึงชื่อสุดท้ายของสดมภ์ แล้วจึงขึ้นไปใช้ชื่อของแถว

                     แรกของสดมภ์ที่  2  เช่น  "ดอมเรย์"(Damrey)  ไปจนถึง  "ทรามี"  (Trami)  แล้วจึงขึ้นไปที่  "กองเรย์"
                     (Kong-Rey) เป็นต้น ส าหรับประเทศไทยได้เสนอชื่อพายุหมุนเขตร้อน คือ พระพิรุณ, วิภา, เมขลา, นิดา

                     , กุหลาบ, ทุเรียน, รามสูร, หนุมาน , ชบา และขนุน ( ตารางที่ 1)
   145   146   147   148   149   150   151   152   153   154   155