Page 24 - 400ปีกล้องโทรทรรศน์
P. 24

กล้องโทรทรรศน์สะท้อนแสงยักษ์ของเฮอร์เชล

             ในช่วงต้นศตวรรษที่ 18 ความก้าวหน้าของการสร้างกล้องโทรทรรศน์เป็นไปอย่างเชื่องช้า
        แต่เมื่อมาถึงยุคของนักดนตรีชื่อ วิลเลียม เฮอร์เชล (William Herschel) ที่ย้ายมาจากเมือง
        ฮันโนเวอร์ (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของเยอรมนี) ไปยังประเทศอังกฤษและหันมาสนใจเกี่ยวกับ
        ดาราศาสตร์ ซึ่งในตอนแรกเฮอร์เชลได้พยายามที่จะสร้างกล้องโทรทรรศน์แบบหักเหแสง แต่ว่า
        กล้องโทรทรรศน์ดังกล่าวมีล�ากล้องที่ยาวน่าร�าคาญ (โดยเฮอร์เชลได้ท�ากล้องโทรทรรศน์แบบ
        หักเหแสงขึ้นมา 1 ตัว มีขนาดความยาว 30 ฟุต) และเขาได้หันมาให้ความสนใจการสร้าง
        กล้องโทรทรรศน์ที่ใช้กระจก ในปี ค.ศ. 1778 (พ.ศ. 2321) เฮอร์เชลได้สร้างกล้องโทรทรรศน์แบบ
        สะท้อนแสงหลายตัว โดยหนึ่งในกล้องโทรทรรศน์ที่ประสบความส�าเร็จมากที่สุดของเขามีขนาด
        กระจก 6.2 นิ้ว และยาว 2.1 เมตร (7 ฟุต) เฮอร์เชลได้ใช้กล้องโทรทรรศน์นี้ เพื่อรวบรวมแคตตาล็อก
        ของดาวคู่ที่ส�าคัญเป็นครั้งแรก และในปี ค.ศ. 1781 (พ.ศ. 2324) เฮอร์เชลได้ค้นพบดาวเคราะห์
        ดวงใหม่ที่เรารู้จักกันในปัจจุบัน คือ ดาวยูเรนัส จากการค้นพบนี้น�ามาซึ่งการยอมรับของราชส�านัก
        ท�าให้เฮอร์เชลมีรายได้ปีละ 200 ปอนด์ และได้รับอนุญาตให้ท�างานด้านดาราศาสตร์แบบเต็มเวลา


               “มันเป็นความสับสนอันยิ่งใหญ่ของลักษณะเสากระโดง บันได และเชือก จากกลาง
          ล�ากล้องซึ่งมีขนาดมหึมา…ที่ถูกยกปากกระบอกขนาดมหึมาขึ้นไปบนท้องฟ้ าอย่างท้าทาย”
                                             โอลิเวอร์ เวนเดล โฮล์มส์ (Oliver Wendell Holmes)


             จากการที่ได้รับการสนับสนุนในความส�าเร็จของเขา ต่อมาเฮอร์เชลได้ทุ่มเทเป็นเวลาหลายปี
        เพื่อสร้างกล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่ที่สมบูรณ์แบบ โดยกล้องโทรทรรศน์นี้มีจุดเด่นคือ กระจกที่มี
        เส้นผ่านศูนย์กลางเกือบ 19 นิ้ว ห่อหุ้มในหลอดยาว 20 ฟุต บนฐานตามดาวแบบอัลตะซิมุท (Alt
        – Az) เช่นเดียวกับกล้องโทรทรรศน์กระจกอื่นๆ ที่กระจกท�าจากโลหะ (ส่วนใหญ่เป็นทองแดงและ
        ดีบุก) และกระจกเกิดสีคล�้าได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นมันจะต้องถูกน�ามาขัดใหม่บ่อยครั้ง และที่ฐาน
        ของกล้องโทรทรรศน์สามารถเปิดออกและถอดกระจกออกได้ง่าย  อีกประการหนึ่งของกระจกคือ
        จะต้องน�ามาขัดเงาอยู่เสมอเมื่อต้องใช้งานกล้องโทรทรรศน์

             การสังเกตการณ์ของ วิลเลียม เฮอร์เชล ได้รับความช่วยเหลือจากแคโรไลน์ซึ่งเป็นน้องสาว
        ของเขาเอง ช่องมองภาพของกล้องโทรทรรศน์ได้รับการติดตั้งอยู่ที่ด้านบนของล�ากล้อง ดังนั้น
        การสังเกตการณ์ของเฮอร์เชลได้จากบนแท่นที่สามารถขึ้นหรือลงตามต้องการ  แคโรไลน์นั่งอยู่ที่
        หน้าต่างภายในบ้านที่อยู่ใกล้เคียง เมื่อเฮอร์เชลส่งสัญญาณด้วยการดึงสตริง เธอจะเปิดหน้าต่าง
        และบันทึกการสังเกตของพี่ชายเธอ ในขณะที่เฮอร์เชลส่งสัญญาณลงไปที่เธอ




        24  400 ปี วิวัฒนาการกล้องโทรทรรศน์
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29