Page 43 - mukdahansuksapub
P. 43

                                                                                                             43                 ลําผญา                                                      ภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสานมี ๒๐ จังหวัด  แต่ศิลปการแสดงหรือการร้องรํา                 ทําเพลงจะแบ่งแยกออกเป็น ๓ กลุ่มคือ                                    ๑.กลุ่มเขมร-ส่วย ๓ จังหวัดคือสุรินทร์,บุรีรัมย์และศรีสะเกษจะมีการร้องรําแบบเขมรคือกันตรึม                 เป็นส่วนมาก                                    ๒.กลุ่มวัฒนธรรมโคราชในเขตจังหวัดนครราชสีมาละบางอําเภอในจังหวัดบุรีรัมย์จะมีการร้องรําที่                 เรียกว่าเพลงโคราช                                     ๓.กลุ่มวัฒนธรรมไทย-ลาวอีก ๑๖ จังหวัดจะมีการร้องรําที่เรียกขานกันทั่วไปว่า หมอลํา                                                  ศิลปะการร้องรําที่เรียกว่าหมอลําใน ๑๖ จังหวัดจะแบ่งแยกและมีประวัติความเป็นมาที่แตก                 ต่างกันอีกคือ                                    ๑.หมอลํากลอน  แบ่งแยกเป็นหลายประเภทเช่น                           (๑).ลําโจทย์-ลําแก้      ในอดีตหมอลําส่วนมากจะเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ,เป็นนักปราชญ์อาจารย์เคยบวชเรียนมา                 ก่อน  จึงเป็นผู้ทรงวุฒิในด้านภาษา,และคุณธรรมจริยธรรม   เมื่อสึกแล้วบางท่านอาจจะมีอาชีพเป็นหมอลํา  ก็จะ                 แต่งกลอนลําได้เองอย่างสละสลวย   จึงมีการลองภูมิกันระหว่างหมอลําทั้งสองฝ่าย  เช่นฝ่ายหนึ่งลําถามเกี่ยวกับ                 ธรรมะหรือขนบธรรมเนียมประเพณีหรือเกี่ยวกับเรื่องของบาปบุญคุณโทษ    อีกฝ่ายหนึ่งก็จะลําโต้ตอบตามภูมิ                 ปัญญาความรู้  ผู้ฟังก็จะได้ความรู้และสนุกสนานด้วย บางครั้งก็มีการร้องรํากันทั้งคืนในงานมหรสพ                            (๒).ลําชิงชู้    เป็นการแสดงของหมอลํา  โดยมีฝ่ายหญิงหนึ่งคนแต่ฝ่ายชายมีสองคน  ฝ่ายชายต่างจะร้อง                 ลําเกี้ยวพาราสีหมอลําฝ่ายหญิง                            (๓).ลําเกี้ยว   เป็นการร้องรําเกี้ยวพาราสีระหว่างหมอลําฝ่ายชายและฝ่ายหญิง                                     ๒.หมอลําพื้น  เป็นการร้องรําเล่าเรื่องจากนิทานพื้นบ้านเช่นเรื่องสังขสินไซ (ศิลปไชย),จําปาสี่ต้น,                 นางผมหอมฯลฯส่วนมากจะแสดงในงานศพ,หรือฉลองกองกฐิน,งานประจําปีของหมู่บ้าน                                    ๓.หมอลําหมู่หรือลําเรื่อง    เป็นการแสดงของหมอลําที่ได้พัฒนาขึ้น ที่มีการแสดงประกอบเหมือน                 ลิเก                                    ๔.หมอลําผีฟ้ า  เป็นการร้องรําเพื่อบวงสรวงผีฟ้าเพื่อเชิญผีฟ้ามารักษาคนไข้ที่เจ็บป่วย  บางครั้งผู้                 เจ็บป่วยก็ลุกขึ้นฟ้อนรําตาม  เพราะเสียงดนตรีเช่นฆ้องกลอง,เสียงแคนเสียงพิณเร้าใจมาก                             (๔).ลําผญา เป็นการร้องรําในแถบลุ่มแม่นํ้าโขง ในสองฝั่งแม่นํ้าโขงตอนใต้ตั้งสุวรรณเขตและมุกดาหาร                 ลงไปตามตํานานเล่าว่าเกิดขึ้นตั้งสมัยที่พระครูโพนเสม็กพาสานุศิษ์อพยพลงมาตามลํานํ้าโขงตั้งแต่ พ.ศ.๒๓๓๓
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48