Page 48 - mukdahansuksapub
P. 48
48 ๔.นายหนูจอน วงษ์หอม มีบุตรธิดากับนางแพง คือนายเจียน วงษ์หอม,นางทองปอน วงษ์หอม มีบุตรธิดากับนางขัน คือ ร.ต.อ.แปลก วงษ์หอม,นายดาว วงษ์หอม,นางจันทร์สมุทร์ ๕.นางจันทิพย์ (นางพิทักษ์พนมเขตร์) คุณแม่จันทิพย์ ซึ่งเป็นลูกสาวคนสุดท้องได้ติดตามพี่สาวคือ นางคําฟอง ซึ่งป็นภรรยา หลวง ประจงราชกิจ มหาดเล็กและเลขานุการ พระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ข้าหลวงต่างพระองค์ สําเร็จราชการมณฑลลาวพวน (อีสานเหนือ)ซึ่งมีกองบัญชาการตั้งอยู่ที่บ้านหมากแข้ง (อุดรธานี)ตั้งแต่อายุ ๑๓ ปี (พ.ศ.๒๔๔๐) ครั้นอายุได้ ๑๘ ปีได้สมรสกับ ร้อยตรี ทองดี ธนะรัชต์ (ต่อมาได้รับพระราชทานยศและ บรรดาศักดิ์เป็น พ.ต.หลวงเรืองเดชอนันต์-บิดาของท่านจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์)ซึ่งเป็นนายทหารล่ามภาษา เขมรและภาษาฝรั่งเศสประจําเสด็จในกรมหลวงประจักษ์ฯ ณ มณฑลลาวพวน (อุดรธานี) ต่อมาได้ติดตามสามี ซึ่งไปรับราชการอยู่เชียงใหม่,เชียงรายและกรุงเทพฯ เมื่อพํานักอยู่ที่กรุงเทพฯได้มีบุตรธิดารวม ๓ คนคือ คน แรกเป็นผู้หญิง ชื่อทินและบุตรชายอีก ๒ คนๆแรกชื่อสวัสดิ์คนต่อมาชื่อสิริ (ภายหลังเปลี่ยนเป็น สฤษดิ์ คือ จอม พล สฤษดิ์ ธนะรัชต์) ครั้นถึง พ.ศ.๒๔๕๓ เมื่อจอมพล สฤษดิ์ บุตรชายคนเล็กอายุได้ ๓ ขวบแล้ว คุณแม่จันทิพย์ซึ่ง จากบ้านเกิดของท่าน(เมืองมุกดาหาร)มาถึง ๑๓ ปีซึ่งขาดการติดต่อกับมารดาของท่านคือคุณยายคําหอมที่ มุกดาหารมานานมากแล้ว เพราะการเดินทางจากกรุงเทพฯไปมุกดาหารในสมัยนั้นทุรกันดารและห่างไกลกัน มากตลอดทั้ง การติดต่อสื่อสารถึงกันและกันก็ลําบากมาก อีกทั้งคุณยายคําหอมได้บอกให้ญาติซึ่งเดินทางมา จากมุกดาหารให้บอกคุณแม่จันทิพย์และคุณป้ าคําฟอง(ภรรยาหลวงประจงราชกิจซึ่งเป็นมารดาคุณทิพย์และ คุณหญิงประเทียบ)ลูกสาวทั้งสองคนซึ่งพํานักอยู่ที่กรุงเทพฯด้วยว่า คุณยายคําหอมชราลงมากแล้วและคิดถึงลูก สาวทั้งสองคนมากหากยังมีชีวิตอยู่ก็ขอให้เดินทางไปเยี่ยมเยียนท่านที่มุกดาหารด้วย คุณแม่จันทิพย์จึงได้ปรึกษากับคุณป้ าคําฟองพี่สาวเห็นพ้องต้องกันว่าจะร่วมเดินทางไปเยี่ยม เยียนคุณยายคําหอมที่มุกดาหารเพราะว่าทางรถไฟสายแรกก็ได้เริ่มเปิดได้แล้วจากกรุงเทพฯถึงเมืองนครราชสีมา ประกอบกับต่อมาบิดาของท่านจอมพล สฤษดิ์ก็ได้มีภรรยาอื่นๆเพิ่มขึ้นอีกตามความนิยมในสมัยนั้น คุณแม่จัน ทิพย์คิดจะพาลูกชายทั้งสองหลบหนีออกจากกรุงเทพฯโดยมิได้บอกกล่าวให้บิดาของท่านจอมพล สฤษดิ์ล่วงรู้ และไม่คิดจะหวลกลับมากรุงเทพฯอีกเพื่อจะได้อยู่ดูแลมารดาของท่านที่มุกดาหารในยามแก่ชราด้วย โดยจะนํา ลูกชายทั้งสองคนคือ สวัสดิ์ และสิริ ไปอยู่มุกดาหารด้วย การเดินทางจากกรุงเทพฯไปยังเมืองมุกดาหารเมื่อร้อยปีก่อน (พ.ศ.๒๔๕๓ สมัยรัชกาลที่ ๕) แสนจะลําบากและทุรกันดารมากซึ่งต้องใช้เวลาในการเดินทางเกือบ ๒ เดือน เพราะทางรถไฟก็พึ่งมีจาก กรุงเทพฯถึงแค่โคราช จากโคราชต้องนั่งเกวียนต่อไปยังตําบลท่าช้างริมฝั่ง แม่นํ้ามูล แล้วนั่งเรือถ่อเรือพายไป ตามลํานํ้ามูลจนถึงเมืองอุบลราชธานีอีกเกือบ ๑๕ วัน