Page 49 - mukdahansuksapub
P. 49

                                                                                                             49                                        ผู้ร่วมเดินทางกับคุณแม่จันทิพย์จากกรุงเทพฯไปมุกดาหารในครั้งนั้นก็คือลูกชายทั้งสองคนของ                 ท่านคือสวัสดิ์ อายุ ๕ ขวบ,สิริ (สฤษดิ์)อายุ ๓ขวบ  พร้อมด้วยพี่สาวของท่านคือคุณป้ า คําฟองและลูกสาวคุณป้ า                 คําฟองอีก ๒ คน  คือด.ญ.ทิพย์ (นางนทีคามรักษ์)อายุ ๑๓ ขวบ,  ด.ญ.เทียบ (คุณหญิงประเทียบ ชลทรัพย์-มารดา                 ท่านผู้หญิงวิจิตรา ธนะรัชต์)  อายุ ๑๐ขวบ  ในการเดินทางทางเรือในลํานํ้ามูลจากท่าช้างไปตามลํานํ้ามูลปรากฎ                 ว่าลูกชายคนโตของคุณแม่จันทิพย์ที่ชื่อ สวัสดิ์ (พี่ชายจอมพลสฤษดิ์)อายุ ๕ ขวบได้ป่วยเป็นไข้ป่าในเรือ  จึงไม่มี                 หยูกยาที่จะรักษาได้และได้เสียชีวิตในเรือกลางลํานํ้ามูลก่อนที่จะเดินทางถึงเมืองอุบลฯเพียง ๒ วัน  จึงสร้าง                 ความเศร้าสลดหดหู่และเสทือนใจแก่คุณแม่จันทิพย์ตลอดทางและตลอดชีวิตของท่านด้วย                                    เมื่อเดินทางถึงเมืองอุบลราชธานี  คุณแม่จันทิพย์ได้พาพี่สาว,หลานสาวและลูกไปพักที่บ้านญาติใน                 กองทหารเมืองอุบลฯอีกหลายวัน เพื่อรอเกวียนที่จะเดินทางไปยังมุกดาหาร  มีสิ่งที่ส่อให้เห็นถึงแววความเป็น                 ทหารของท่านจอมพล สฤษดิ์ตั้งแต่เล็กๆซึ่งเป็นลูกทหาร  คือในเช้าวันหนึ่งขณะที่ทหารเป่าแตรเดี่ยวชักธงขึ้นสู่                 ยอดเสา  จอมพล สฤษดิ์ซึ่งมีอายุเพียง ๓ ขวบได้วิ่งไปยืนหน้าแถวทหารและทําวันทยหัตถ์ด้วย  เมื่อทหารเห็น                 เด็กตัวเล็กๆแสดงอาการผิดแปลกจากเด็กทั่วไปต่างก็หัวเราะชอบใจไปตามๆกัน  แต่คงไม่มีใครคาดคิดหรอกว่า                 เด็กตัวเล็กๆที่ทหารเมืองอุบลฯหัวเราะขบขันในวันนั้นต่อมาอีก ๔๐ ปีกว่าเขาได้เป็นถึงจอมพลผู้เกรียงไกรของ                 กองทัพไทยและเป็นนายกรัฐมนตรีที่ได้พัฒนาชาติไทยและภาคอีสานของไทยให้เจริญก้าวหน้าขึ้นอย่างรวดเร็ว                                       จากเมืองอุบลราชธานี    ต้องนอนรออยู่ที่เมืองอุบลราชธานีสิบกว่าวันเพื่อรอคอยว่าจะมีเกวียนที่                 จะนําสินค้าจากมุกดาหาร(สีเสียด,แก่นคูน,ของป่า)มาขายยังเมืองอุบลฯหรือยังเพื่อจะว่าจ้างโดยสารกลับไปยัง                 เมืองมุกดาหาร  ต้องนั่งเกวียนอีก ๑๐ กว่าวันจากเมืองอุบลฯไปยังเมืองมุกดาหาร ผ่านป่าดงพงพีที่เป็นดงทึบคือ                 ดงบังอี่ซึ่งเป็นป่าดงที่รกชัฏมากมีทั้งช้างป่าและเสือในป่าอีกทั้งต้องระวังไข้ป่าอีกด้วย                                     แม้แต่สมเด็จพระเจ้าบรมวงษ์เธอ  กรมพระยาดํารงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ซึ่งท่าน                 ได้เสด็จไปตรวจราชการเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๙(ก่อนคณะคุณแม่จันทิพย์จะเดินทางกลับมุกดาหารเพียง ๓ ปี)ได้ทรง                 บันทึกการเสด็จผ่านดงบังอี่เมื่อวันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ.๒๔๔๙ไว้ว่า  “... วันที่ ๒๑ มกราคม เวลายํ่ารุ่ง ขี่ม้าออกจาก                 เมืองมุกดาหาร  ตามหนทางที่มามีโคกบ้าง มีนาบ้าง  ผ่านบ้านเหมืองบ่าแลเห็นเขาภูมโนและเขาภูหินขัน  ซึ่งดูตามแผนที่เข้าใจ                 ว่าเนื่องกันกับเขาภูพาน  เวลาเช้า ๑ กับ ๒๕ นาทีถึงบ้านคําเขือง  ที่พักร้อนระยะทาง ๒๔๐ เส้น เวลาเช้า ๓ โมงได้เดินทางเข้าดง                 บังอี่  เป็นทางขึ้นเขาอย่างเดียวกับดงพญาไฟ(ดงพญาเย็น)แต่เป็นดงใหญ่ทึบกว่าดงพญาไฟ ต้นไม้แน่นหนารกชัฏแลเห็นดวง                 พระอาทิตย์แต่เมื่ออยู่เหนือยอดไม้  มีต้นตะเคียนต้นยางอย่างใหญ่ๆก็มาก ข้ามทางลํานํ้าเล็กๆที่ผ่านในดงนั้น ๒-๓แห่งและข้าม                 ห้วยบังอี่ซึ่งเป็นห้วยใหญ่แห่งหนึ่ง   ถึงบ้านนากอกซึ่งเป็นบ้านอยู่ในดงเวลาเที่ยง ๒๕ นาทีระยะทาง ๔๙๐ เส้น......”                                         ตกกลางคืนคณะคุณแม่จันทิพย์ต้องพักแรมในกลางป่าต้องนําเกวียนทุกเล่มมาจอดล้อมวงกัน                 และก่อกองไฟไว้โดยรอบ  บางคืนก็มีเสือหรือช้างป่ามาเดินรอบๆกองไฟแต่ไม่กล้าเข้ามาทําร้าย                                        จอมพล สฤษดิ์ เมื่ออายุ ๓ ขวบได้อยู่กับคุณแม่จันทิพย์และคุณยายของท่านที่มุกดาหารด้วยความ                 อบอุ่น ด้วยความเอื้ออารีของญาติพี่น้องท่านจนอายุ ๕-๖ ขวบ  ภาพท้องทุ่งอันเวิ้งว้างและหาดทรายที่ยาวเหยียด                 กลางแม่นํ้าโขงยังติดตาตรึงใจท่านอยู่ตลอดชีวิต
   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54