Page 51 - mukdahansuksapub
P. 51

                                                                                                             51                 ขนมหม้อแกง,ทองหยิบ.ฝอยทอง ฯลฯ และยังได้ถ่ายทอดให้ลูกหลานทุกคนทําได้อีก   เพราะว่าในอดีตจังหวัด                 หรือเมืองเล็กๆจะไม่มีร้านอาหารไม่มีโรงแรม ข้าราชชั้นผู้ใหญ่ที่เดินทางมาก็ต้องอาศัยพักที่บ้านพักนายอําเภอ                 นายอําเภอก็ต้องต้อนรับและจัดอาหารการกินไว้รับรองด้วย  คุณแม่จันทิพย์ไม่เคยปล่อยให้วันเวลาผ่านไปโดย                 เปล่าประโยชน์  เช่นซื้อปลาในลํานํ้าโขงมาทําปลาร้า,นํ้าปลา   ท่านชอบทําสวนปลูกข้าวโภชน์,ถั่วเขียว,ถั่ว                 เหลืองแล้วนําถั่วเหลืองมาทําเต้าเจี้ยว   ชักชวนภรรยาข้าราชการปลูกหอมกระเทียมริมตลิ่งโขงนํามาใช้ใน                 ครัวเรือน  ตลอดทั้งวันพระขึ้น ๘ คํ่า ๑๕ คํ่าท่านก็เข้าวัดถือศีลสมาธิเป็นประจํามิได้ขาด                               โดยเฉพาะงานนมัสการพระธาตุพนมทุกปีจะมีข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เดินทางมาร่วมงานทุกปี                 คุณแม่จันทิพย์ต้องเตรียมข้าวปลาอาหารขนมนมเนยไว้ให้พร้อมทุกปี  ตลอดทั้งศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน                 ท่านก็ฝึกสอนให้ลูกสาวต้องทําได้ทุกคนเช่นการปั่นฝ้าย,ย้อมฝ้าย,ทอผ้า,มัดหมี่เป็นต้น                                      ครั้นถึง พ.ศ.๒๔๗๒ ลูกชายคนโตของคุณแม่จันทิพย์ (นายสง่า  จันทรสาขา)เรียนจบมัธยม                 ปีที่ ๔ ที่จังหวัดนครพนม  ซึ่งการศึกษาในสมัยนั้นแบ่งการศึกษามัธยมต้น (มัธยมปีที่๑ถึงมัธยมปีที่ ๔)                 มัธยมปลาย(มัธยมปีที่ ๕ ถึงมัธยมปีที่ ๘)   เกือบทุกจังหวัดจะมีแค่มัธยมต้นการจะศึกษาต่อในมัธยมปลาย                 จะต้องไปศึกษาต่อที่กรุงเทพฯหรือเมืองใหญ่ๆ  คุณพ่อหลวงพิทักษ์ฯคิดที่จะส่งลูกไปศึกษาต่อที่                 กรุงเทพฯแต่ท่านรับราชการไม่มีเวลาที่จะเดินทางไปกรุงเทพฯได้  จึงมอบภาระนี้ให้คุณแม่จันทิพย์เพราะ                 เห็นว่าท่านเคยพํานักอยู่กรุงเทพฯมาก่อนและมีลูกหลานอยู่ที่กรุงเทพฯหลายคน  หลานสาวแต่ละคนก็มี                 ฐานะดีทุกคนเช่น คุณป้ าชื่น(นางสมัครบุรีรมย์)เป็นภรรยา พ.ต.ท.พระสมัครบุรีรมย์(จอน  มหาสุคนธ์)ผู้                 บังคับการตํารวจนครบาลในสมัยนั้น,คุณป้ าแข(นางศรการวิจิตร)ภรรยา น.ท.พระศรการวิจิตร(ชอย ชล                 ทรัพย์)ทหารเรือ,คุณเทียบ(คุณหญิงประเทียบ  ชลทรัพย์)  อีกทั้งลูกสาวและลูกชายคุณแม่จันทิพย์ที่อยู่ที่                 กรุงเทพฯอีกลูกสาวคือคุณทิน ธนะรัชต์และจอมพล สฤษดิ์ ซึ่งจะจบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อย                 ทหารบกออกรับราชการเป็นนายทหารยศร้อยตรีในปีนี้ด้วย                                           การเดินทางมากรุงเทพฯเมื่อ ๘๐ ก่อน(พ.ศ.๒๔๗๒)ไม่ได้สะดวกสบายอย่างทุกวันนี้                 ต้องเดินทางเกือบ ๑๕ วันเป็นอย่างน้อย  เริ่มมีรถยนต์โดยสารในภาคอีสานตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๗๐(สมัยรัชกาลที่                 ๗)ถนนหนทางที่วิ่งก็ใช้ทางเกวียนเดิมช่วยกันขุดช่วยกันเกลี่ยดินและใช้ได้เฉพาะฤดูแล้งและฤดูหนาวเท่านั้นรถ                 โดยสารก็ไม่ได้มีทุกวัน   นั่งรถโดยสารมาพักค้างคืนที่จังหวัดนครพนม  พักอยู่หลายวันจึงมีรถโดยสารมายัง                 จังหวัดสกลนครเดินทางอีกสองสามวันจึงมาถึงจังหวัดอุดรธานี   จากจังหวัดอุดรธานีต้องมานอนพักค้างคืนที่                 จังหวัดขอนแก่น  จากขอนแก่นก็ต้องรออีกหลายวันกว่าจะมีรถโดยสารมายังโคราช  จากโคราชจึงมีรถไฟมายัง                 กรุงเทพฯ                                             ที่สถานีรถไฟหัวลําโพงกรุงเทพฯเมื่อ ๘๕ ปีก่อน  เมื่อเดินทางถึงคุณแม่จันทิพย์ได้เห็นว่ามีเด็ก                 สาวคนหนึ่งเดินมากับนายทหารยศร้อยตรีคนหนึ่งกําลังเดินตรงมาหาแล้วก้มลงกราบคุณแม่จันทิพย์  จึงได้รู้ว่า
   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56