Page 55 - mukdahansuksapub
P. 55

                                                                                                             55                 จอมพล  สฤษดิ์  ธนะรัชต์                                                                      จอมพล สฤษดิ์  ธนะรัชต์ เกิดเมื่อวันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๕๑                                          เป็นบุตร พ.ต.หลวงเรืองเดชอนันต์(ทองดี ธนะรัชต์)ปู่ชื่อ หลวงหลวงชํานาญอักษร                                          (เงิน)ย่าชื่อ ทองอยู่ มารดา ชื่อ จันทิพย์ คุณตาชื่อท้าวทิพยวงษ์  คุณยาย ชื่อ คําหอม                                          ซึ่งเป็นชาวมุกดาหาร                                                                 เนื่องจากบิดา,ปู่และย่าของท่านมีชื่อเกี่ยวกับเงินและทองทั้งสิ้น บิดา                                          ของท่านจึงได้รับพระราชทานนามสกุลว่า ธนะรัชต์ ซึ่งแปลว่า เงิน    ปู่ของท่านคือ                                          หลวงชํานาญอักษร ออกไปรับราชการอยู่ที่เมืองพระตะบอง  ในสมัยที่เมืองพระตะ                 บองยังเป็นดินแดนของราชอาณาจักร์สยาม (ไทย)อยู่ โดยมีเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์(แบน อภัยวงศ์)  ปู่ของนายควง                 อภัยวงษ์เป็นผู้สําเร็จราชการมณฑลบูรพา(พระตะบอง) บิดาของท่านซึ่งเกิดที่เมืองพระตะบองและได้ไปศึกษาวิ                 ชาภาษาเขมรและภาษาฝรั่งเศสในเมืองพนมเป็ญดินแดนเขมรซึ่งเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส  จึงมีความรู้ในภาษา                 ฝรั่งเศสและภาษาเขมรเป็นอย่าดี  เมื่อเมืองพระตะบองตกเป็นดินแดนของฝรั่งเศส   ปู่และบิดาของท่านจึงอพยพ                 กลับมาตั้งรกรากอยู่ที่กรุงเทพฯพร้อมกับผู้สําเร็จราชการมณฑลบูรพาเมืองพระตะบอง   คือ เจ้าพระยาคธาธรทร                 ณินทร์(เยีย อภัยวงษ์) บิดานายควง อภัยวงษ์                                                      บิดาของท่านคือ หลวงเรืองเดชอนันต์ (ทองดี  ธนะรัชต์)มีความรู้ในภาษาฝรั่งเศสและภา                 ษาเขมรเป็นอย่างดีและรับราชการทหารเป็นอาจารย์โรงเรียนนายร้อยทหารบก และโรงเรียนเสนาธิการทหารบก                 ทั้งได้แต่งและแปลตําราไว้ในราชการทหารอีกหลายเล่ม    ได้สร้างชื่อเสียงในการแปลพงศาวดารกัมพูชาจากต้น                 ฉบับภาษาเขมรเป็นภาษาไทยซึ่งสมเด็จกรมพระยาดํารงราชานุภาพได้มีลายพระหัตถ์ทรงไว้ในคํานําในการแปล                 พงศาวดารเล่มนั้นว่า “.......  ต้องเสียเวลาสืบหาล่ามเขมรอยู่หลายเดือน ด้วยผู้ที่หามาได้ ถ้าเป็นผู้รู้ภาษาเขมรดีมักจะบกพร่อง                 ทางภาษาไทย ถ้ารู้ภาษาไทยดีก็จะบกพร่องภาษาเขมรหาล่ามแปลหนังสือเรื่องนี้ให้ดีไม่ได้      จนมาได้ความว่าในกระทรวงกลา                 โหมมี นายพันตรี หลวงเรืองเดชอนันต์ (ทองดี ธนะรัชต์) รู้ชํานาญดีทั้งภาษาเขมรและภาษาไทย      จึงได้ทูลขออนุญาตต่อ นาย                 พลเอก   สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ   กรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ เสนาธิการทหารบก   ประทานอนุญาตให้นายพันตรี หลวง                 เรืองเดชอนันต์ จึงรับแปลหนังสือพงศาวดารเรื่องนี้ให้แก่หอพระสมุดฯกรรมการรู้สึกขอบพระเดชพระคุณสมเด็จพระเจ้าน้องยา                 เธอฯและขอบใจ หลวงเรืองเดชอนันต์เป็นอันมาก.......”                                                     สมัยเป็นเด็กท่านได้ไปพํานักอยู่กับคุณแม่จันทิพย์และคุณยายคําหอมที่มุกดาหารตามที่ได้                 ได้เขียนเล่าไว้แล้ว  เมื่อท่านอายุได้ ๖-๗ ขวบบิดาของท่านจึงไปรับให้กลับมาเรียนหนังสือที่กรุงเทพฯ    ท่านได้                 เข้าโรงเรียนแห่งแรกในชั้นประถมที่โรงเรียนวัดมหรรณพารามเมื่อ พ.ศ.๒๔๕๙ถึง พ.ศ.๒๔๖๑ตั้งแต่ชั้นประถม                 ปีที่ ๑ ถึงประถมปีที่ ๓  จนถึง พ.ศ.๒๔๖๒ อายุ ๑๑ ปีจึงได้เข้าเรียนที่โรงเรียนนายร้อยทหารบก ซึ่งโรงเรียนนาย                 ร้อยทหารบกในอดีต (สมัยรัชกาลที่ ๖)      จะมีตั้งแต่โรงเรียนนายร้อยชั้นประถมและโรงเรียนนายร้อยชั้นมัธยม                 เพราะจอมพล พระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ  องค์เสนาธิการทหาร
   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60