Page 57 - mukdahansuksapub
P. 57

                                                                                                             57                 คลี่คลายกรณีสวรรคตให้ข่าวกระจ่างได้  ตลอดทั้งไม่สามารถแก้ไขค่าครองชีพของประชาชนและการทุจริตใน                 หน่วยงานของราชการได้ยิ่งมากขึ้นทุกที จนนายกรัฐมนตรีคือนายปรีดี พนมยงค์ ต้องลาออกให้พลเรือตรี ถวัลย์                 ธํารงนาวาสวัสดิ์เป็นนายกรัฐมนตรีสืบต่อไป   แต่กระนั้นก็ตามเสียงแสดงความไม่พอใจรัฐบาลที่ไม่สามารถคลี่                 คลายกรณีสวรรคตให้ขาวกระจ่างได้และไม่สามารถแก้ไขค่าครองชีพของประชาชนได้ยิ่งมีมากขึ้นทุกที  จนฝ่าย                 ค้านในสภาผู้แทนราษฏรได้เปิดอภิปรายทั่วไป  ความไม่พอใจของประชาชนมากขึ้นทุกวันจึงมีนายทหารบาง                 กลุ่มซึ่งส่วนมากเป็นกลุ่มนายทหารกองหนุนคิดจะกระทํารัฐประหารเพื่อเปลี่ยนแปลงรัฐบาล   แต่ไม่มีหน่วย                 กําลังทหารเพียงพอ  กําลังทหารที่กลุ่มนี้เพ่งเล็งเป็นพิเศษก็คือกรมทหารราบที่  ๑  ซึ่งมีท่านเป็นผู้บังคับการอยู่                 จนในที่สุดท่านก็ถูกชักชวนให้ร่วมในการทํารัฐประหารครั้งนั้น                                       วันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๐ เป็นวันกระทํารัฐประหาร  กําลังทหารจากกรมทหารราบที่ ๑ ทั้ง                 ๔ กองพันซึ่งท่านเป็นผู้บังคับการเป็นกําลังสําคัญ  หน่วยทหารที่จะร่วมในการยึดอํานาจส่วนมากจะอยู่ทางบาง                 ซื่อ  แต่ พลเอก หลวงอดุลเดชจรัส ผู้บัญชาการทหารบกได้ยืนขวางถนนอยู่ที่บางลําภูและวิ่งรถเที่ยวไล่ให้ทหาร                 หน่วยอื่นๆกลับเข้ากรมกองหมด   ท่านได้ตัดสินใจเด็ดขาดไม่ให้ทหารภายใต้การบังคับบัญชาของท่านถอยโดย                 นํากําลังทหารเข้ายึดกระทรวงกลาโหมเป็นกองบัญชาการในการทํารัฐประหารยึดอํานาจจนสําเร็จโดยมี พลโท                 ผิน ชุณหวันเป็นหัวหน้าคณะรัฐประหารและเชิญจอมพล ป. พิบูลสงครามมาร่วมในการยึดอํานาจครั้งนี้อีกด้วย                                      วันที่ ๙ พฤศจิกายน   พ.ศ.๒๔๙๐ ท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการกองพลที่ ๑ และวันที่ ๑                 มกราคม พ.ศ.๒๔๙๑ท่านก็ได้รับพระราชทานเลื่อนยศเป็นพลตรีเมื่ออายุ ๔๐ปี  ต่อมายังมีการต่อต้าน,การ                 จลาจล,การกบฏอีกหลายครั้งหลายหน  ซึ่งท่านเป็นกําลังสําคัญในการปราบจลาจลทุกครั้ง  จนถึงวันที่ ๑                 มกราคม พ.ศ.๒๔๙๓ ท่านได้เลื่อนยศเป็นพลโท ดํารงตําแหน่งแม่ทัพกองทัพภาคที่ ๑ พ.ศ.๒๔๙๔ดํารง                 ตําแหน่งผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก  พ.ศ.๒๔๙๕ เลื่อนยศเป็นพลเอก ดํารงตําแหน่งผู้บัญชาการทหารบก เมื่อ                 อายุ ๔๕ ปี   จนถึงพ.ศ.๒๔๙๙ ได้รับพระราชทานเลื่อนยศเป็นจอมพล เมื่ออายุ ๔๗ ปีและดํารงตําแหน่ง                 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม                                     ครั้นถึง พ.ศ.๒๕๐๐  ได้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ปรากฏว่าการหาเสียงเลือกตั้งได้                 ดําเนินไปด้วยความรุนแรงมาก  ประชาชนทั่วไปต่างไม่พอใจพรรคของรัฐบาลคือ พรรคเสรีมนังศิลาซึ่งมีจอม                 พล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าพรรคและพล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ อธิบดีตํารวจโดยกล่าวหาว่าใช้                 อิทธิพลในการเลือกตั้งครั้งนั้นว่าเป็น“การเลือกตั้งที่สกปรก”  ความไม่พอใจของประชาชนได้ทวีความรุนแรง                 ขึ้นทุกที  จนได้มีการชุมนุมเปิดเวทีวิพากย์วิจารณ์รัฐบาลขึ้นอย่างกว้างขวางซึ่งเรียกว่าการเปิด “ไฮด์ปารค์”ขึ้น                 ในท้องสนามหลวง การชุมนุมได้มีการกล่าวหารัฐบาลว่าใช้อิทธิพลในการเลือกตั้ง  ในที่สุดท่านจอมพล สฤษดิ์                 จึงตัดสินใจลาออกจากตําแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ซึ่งท่านพลเอก ถนอม กิตติขจร และ พลโท                 ประภาส จารุเสถียรก็ได้พายื่นใบลาออกจากรัฐมนตรีตามไปด้วย ตลอดทั้งคณะทหารอีก ๔๖ คนที่เป็น ส.ส.                 ประเภท ๒ (ส.ส.มี ๒ประเภทคือส.ส.ประเภทที่ ๑มาจากการเลือกตั้ง ประเภทที่ ๒ มาจากการแต่งตั้ง)ก็ได้พร้อม
   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62