Page 56 - mukdahansuksapub
P. 56

                                                                                                             56                                              บก      มีพระประสงค์จะให้บุตรของข้าราชการโดยเฉพาะบุตรของข้าราชการ                                              ทหารได้เข้าศึกษาเล่าเรียนในโรงเรียนทหารตั้งแต่เยาว์วัย   เพื่อจะได้อบรมบ่ม                                              นิสัยให้มีระเบียบวินัยทหารตั้งแต่ยังเด็ก                                                            ท่านได้เข้าเรียนที่โรงเรียนนายร้อยชั้นประถม ซึ่งรุ่นเดียวกับพระเจ้า                                              วรวงษ์เธอ  พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์  โดยมีพันโท สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ                                              เจ้าฟ้ากรมขุนสุโขทัยธรรมราชา (พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๗)                                              เป็นผู้บังคับการโรงเรียน   ต่อมาท่านได้เข้าเรียนในโรงเรียนนายร้อยชั้นมัธยม                                              จนจบและรับพระราชทานกระบี่ประดับยศ เป็น ร้อยตรีเมื่อวันที่ ๓ เมษายน                                              พ.ศ.๒๔๗๒                              ท่านรับราชการทหารเป็นผู้บังคับหมวด ในกองพันที่ ๑ กรมทหารราบที่ ๒ รักษาพระองค์ ที่กรุงเทพฯ                 ต่อมาได้ทําการรบในการปราบกบฏ (พระองค์เจ้าบวรเดช)เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๖และเลื่อนยศเป็นร้อยโทเมื่อ พ.ศ.                 ๒๔๗๗   เลื่อนยศเป็นร้อยเอก เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๘                               พ.ศ.๒๔๘๒ เป็นผู้บังกองโรงเรียนนายสิบพลรบ,ทหารราบ ณ จังหวัดลพบุรี                               พ.ศ.๒๔๘๓  เลื่อนยศเป็นพันตรี                               พ.ศ.๒๔๘๔ เกิดสงครามเอเชียบูรพา   กองทัพไทยต้องจัดกําลังรบในภูมิภาครัฐไทยใหญ่(เชียงตุง)ท่าน                 ดํารงตําแหน่งผู้บังคับกองพันที่ ๓๓ กรมทหาราบที่ ๑๒ ในการรบและเข้ายึดนครเชียงตุงได้สําเร็จ                               พ.ศ.๒๔๘๗ ดํารงตําแหน่งผู้บังคับการกรมทหารราบที่ ๑๓ และผู้บังคับการจังหวัดทหารบกลําปาง                  และเลื่อนยศเป็นพันเอก (อายุ ๓๗ ปี)                                  เมื่อสงครามโลกครั้งสองและสงครามเอเชียบูรพายุติลงเมื่อญี่ปุ่นประกาศยอมจํานนต่อฝ่ายพันธ                 มิตรซึ่งต่อมาก็ได้เกิดวิกฤติหวั่นไหวและระสํ่าระสายในกลุ่มทหาร เนื่องจากนายทหารหลายนายได้ถูกปลดออก                 จากประจําการตั้งแต่อยู่ในสนาม ทางการปล่อยให้เดินทางกลับบ้านโดยปราศจากการเหลียวแล   ท่านรู้สึกรันทด                 ใจในสภาพของบรรดาเพื่อนทหารที่ร่วมตายในสนามรบเป็นอันมาก   ถึงคิดที่จะลาออกจากราชการทหารเพราะ                 เห็นว่าถึงอยู่ไปก็ไร้ประโยชน์ดูอนาคตก็แสนจะมืดมน      วันหนึ่งท่านจึงไปหาหมอดูซึ่งเป็นพระภิกษุพม่าซึ่งมา                 จําพรรษาอยู่ที่วัดในจังหวัดลําปาง  พระพม่าทํานายทายทักท่านว่าอย่าลาออกเลยต่อไปท่านจะมีบารมียิ่งใหญ่ใน                 แผ่นดิน ซึ่งท่านก็เชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่ง  แต่ก็เป็นผลทางใจที่มีผู้มาปลอบประโลมจึงตัดสินใจอยู่ในราชการต่อไป                                               ครั้นถึง พ.ศ.๒๔๘๙  ก็มีคําสั่งให้ท่านมาดํารงตําแหน่ง ผู้บังคับการ กรมทหารราบที่ ๑ รักษา                 พระองค์ที่กรุงเทพฯซึ่งเป็นหน่วยทหารที่เป็นกําลังสําคัญในขณะนั้น     เมื่อสงครามยุติลงสถานการณ์บ้านเมือง                 จะเต็มไปด้วยความสับสนประชาชนทั่วไปกําลังประสบกับความยากจนค่นแค้นเนื่องจากเศรษฐกิจตกตํ่าหลังสง                 ครามโลก  ต่อมายังได้เกิดข่าวร้ายที่พศกนิกรชาวไทยมิได้คาดฝันคือข่าวการสวรรคตของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว                 รัชกาลที่๘ความเศร้าโศกสะเทือนใจของประชาชนชาวไทยก็ยิ่งทับทวีขึ้น    ความไม่พอใจที่รัฐบาลไม่สามารถ+
   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61