Page 50 - mukdahansuksapub
P. 50

                                                                                                             50                                        สภาพของเมืองมุกดาหารเมื่อร้อยปีก่อน (พ.ศ.๒๔๕๓)ไม่ได้สะดวกสบายอย่างทุกวันนี้ ตลาดสด                 ขายผักขายเนื้อสัตว์ก็ยังไม่มี  ชาวบ้านทั่วไปมักจะจับปลาในแม่นํ้าโขงและนิยมบริโภคปลาในลํานํ้าโขงเป็น                 ส่วนมาก  คุณแม่จันทิพย์และคุณป้ าคําฟองเป็นห่วงลูกหลานซึ่งเคยอยู่แต่ในกรุงเทพฯบางวันท่านทั้งสองได้พา                 ลูกหลานนั่งเรือ(เรือพาย,เรือแจว)ข้ามโขงเกือบ ๑ ชั่วโมง   เพื่อไปเยี่ยมญาติที่เมืองสุวรรณเขตซึ่งเป็นดินแดน                 ลาวของฝรั่งเศสและไปซื้ออาหารเช่นเนื้อสัตว์และเครื่องอุปโภคบริโภคต่างๆในตลาดร้านค้าในเมืองสุวรรณเขต                 อันเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสซึ่งเขาเจริญกว่าฝั่งไทย  ตลอดทั้งมีห้างร้านของฝรั่งเศสที่ทันสมัยด้วย                                     ต่อมาบิดาของท่านจอมพล สฤษดิ์(พ.ต.หลวงเรืองเดชอนันต์)ได้ติดต่อมาว่าเนื่องจากท่านเป็นผู้เชี่ยว                 ชาญในภาษาฝรั่งเศส    จึงจะได้รับแต่งตั้งให้มาเป็นกรรมการปักปันเส้นเขตแดนในลํานํ้าโขงระหว่างพระราชอา                 ณาจักร์สยาม(ไทย)กับอินโดจีนของฝรั่งเศส ท่านจะถือโอกาสมาขอรับจอมพล สฤษดิ์ซึ่งมีอายุ ๕-๖ ขวบแล้วไป                 เล่าเรียนหนังสือที่กรุงเทพฯด้วย   แต่ด้วยความรักและความห่วงใยของคุณแม่จันทิพย์และคุณยายคําหอมไม่ยอม                 ให้ท่านจอมพล สฤษดิ์พลัดพรากจากท่านเพราะเห็นว่าอายุยังน้อยอยู่ขอผลัดอีกสักปีสองปีก่อน   จนอีกสองปีต่อ                 มา(พ.ศ.๒๔๕๘)เมื่อจอมพล สฤษดิ์อายุได้ ๗ ขวบ    บิดาของท่านจอมพล สฤษดิ์ได้เดินทางมาราชการชายแดน                 ที่เมืองมุกดาหารอีกครั้งหนึ่ง จึงขอรับจอมพล สฤษดิ์ไปเล่าเรียนหนังสือที่กรุงเทพฯ   ซึ่งต่อมาได้เข้าเรียนที่โรง                 เรียนวัดมหรรณพาราม  จนถึง พ.ศ.๒๔๖๒    จึงเข้าเรียนที่โรงเรียนนายร้อยทหารบกตั้งแต่โรงเรียนนายร้อยชั้น                 ประถม,โรงเรียนนายร้อยชั้นมัธยม จนออกรับราชการเป็นนายทหาร เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๒ (อายุ ๒๑ ปี)                                            คุณแม่จันทิพย์คงพํานักอยู่ในเมืองมุกดาหารต่อไปเพื่อดูแลมารดาของท่าน  ส่วนพี่สาวของ                 ท่านคือคุณป้ าคําฟองพร้อมด้วยลูกสาวทั้งสอง(คุณทิพย์และคุณเทียบ)ก็ได้เดินทางกลับไปพํานักที่กรุงเทพฯ                 ต่อมาคุณแม่จันทิพย์ได้สมรสใหม่ กับคุณพ่อหลวงพิทักษ์พนมเขต (สีห์ จันทรสาขา)บุตรพระยาศศิวงษ์ประวัติ                 อดีตเจ้าเมืองมุกดาหาร  ตั้งแต่คุณพ่อ หลวงพิทักษ์ฯยังมีบรรดาศักดิ์เป็นขุนมุกดากิจโกศล ปลัดอําเภอขวา                 อําเภอมุกดาหาร  จนมีบุตรธิดารวม ๗ คน คือนางสถิต,นายสง่า,นางมงคล,นายสงวน,นางสมบูรณ์,น.ส.สว่าง                 และนายสุรจิตต์  จันทรสาขา                                           ครั้นถึง พ.ศ.๒๔๖๐ คุณพ่อ หลวงพิทักษ์พนมเขต ได้ดํารงตําแหน่งนายอําเภอธาตุพนม                 ตําแหน่งนายอําเภอในอดีตมีอํานาจหน้าที่มากมายต้องเป็นพ่อบ้านพ่อเมืองในอําเภอนั้นๆ คือเป็นทั้งนักปกครอง                 ควบคุมดูแลตํารวจในการปราบปรามสอบสวนดูแลทุกข์สุขชองราษฎรทั้งมวล   ผู้ว่าราชการหรือนายอําเภอใน                 อดีตต้องเป็นที่พึ่งของราษฎรในท้องที่ที่ปกครองคุณพ่อหลวงพิทักษ์ฯและคุณแม่จันทิพย์ต้องใช้ชีวิตอยู่ที่อําเภอ                 ธาตุพนมถึง ๒๐ ปีจนเกษียณอายุราชการเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๑                                          คูณแม่จันทิพย์ ใช้นามตามบรรดาศักดิ์ของคุณพ่อ หลวงพิทักษ์พนมเขต ซึ่งเป็นสามีตามระเบียบ                 ราชการในสมัยนั้น คือนางพิทักษ์พนมเขต ต้องเป็นแม่บ้านแม่เมืองปฏิบัติตนให้เป็นตัวอย่างแก่ชาวบ้าน                 ชาวเมือง  แต่คุณแม่จันทิพย์เคยใช้ชีวิตอยู่ในกรุงเทพฯมาก่อน  จึงปฏิบัติตนได้เป็นอย่างดี  ตัวอย่างเช่นเรื่อง                 อาหารการกิน  คุณแม่ก็ทําอาหารไทยได้ทุกชนิดเช่น แกงเผ็ด,แกงเนื้อ,แกงมัสมั่น  ตลอดทั้งขนมนมเนยเช่น
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55