Page 14 - การวิจัยเพื่อการศึกษา
P. 14

-12-


                   ประเด็นที่ 3 สรุปและอภิปรายผลการวิจัย (Data Conclusion)


                   เป็นการสรุปข้อความ ผลที่ได้รับจากการวิจัยว่าผลลัพธ์ทั้งหมดเป็นอย่างไร มีอะไรที่ยังหาข้อยุติไม่ได้ การ

               อภิปรายผลการวิจัยต้องคำนึงถึงจุดประสงค์และสมมุติฐานของการวิจัยเป็นสำคัญ จะต้องอภิปรายเพื่อให้
               ทราบว่างานวิจัยนั้นบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้เพียงใด สมมุติฐานที่กำหนดไว้จริงหรือไม่เพราะเหตุใด

               ผลการวิจัยที่สนับสนุนหรือขัดแย้งกับผลการวิจัยของผู้อื่นอย่างไรบ้าง การสรุปผลการวิจัยที่ดีจะช่วยให้ผู้อ่าน

               ทราบเนื้อหาสาระที่สำคัญของงานวิจัยนั้นรวดเร็ว ถูกต้อง และใช้เวลาน้อย โดยเฉพาะงานวิจัยประเภทสำรวจ

               จะอภิปรายไปพร้อมกับการสรุปผลแต่ถ้าเป็นการวิจัยเชิงทดลอง กึ่งทดลอง จะแยกอภิปรายผลก่อนอ่าน

               ผลการวิจัย จึงสรุปผลการวิจัย


                                                                   ์
                                                  ึ
                   สำหรับการอภิปรายผลการวิจัย ต้องศกษาทฤษฎี กฎเกณฑ หลักเหตุผลต่างๆ ตลอดผลการวิจัยของผู้อื่น
               เพื่อเป็นแนวทางในการอภิปรายและนำหลักเหตุผลที่ใช้ไปตั้งสมมุติฐานเป็นแนวทางในการอภิปรายผลได้ และ
               ต้องมีการเสนอแนะในประเด็น จุดอ่อน จุดบกพร่องและข้อจำกัดของการวิจัย แนวทางในการนำผลการวิจัยไป

               ใช้และแนวทางในการทำวิจัยต่อไป และการเขียนรายงานผลการวิจัย (Research Report) นั้นเป็น

                                                                        ื่
               กระบวนการขั้นสุดท้ายของการวิจัย เพื่อเสนอผลงานอย่างมีระบบ เพอเผยแพร่ผลงานที่ได้รับจากการวิจัยไปสู่
               บุคคลที่เกี่ยวข้อง และเป็นแนวทางในการวิจัยแก่ผู้อื่นต่อไป

               สาระสำคัญของการวิจัยที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ในการเขียนโครงร่างการวิจัยและรายงานการวิจัย


                       โครงร่างการวิจัย (Research Proposal) เป็นแบบแผนการดำเนินงานที่วางไว้อย่างมีระบบและเขียน

               เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อใช้เป็นแนวทางในการวิจัยให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ โดยจะทำให้ผู้วิจัยทราบว่า

               จะต้องทำอะไรบ้างในแต่ละขั้นตอน และทราบว่าขั้นตอนใดควรทำก่อนหรือหลัง


                       ส่วนประกอบของโครงร่างการวิจัย ประกอบด้วย


                   -  ชื่อเรื่อง หรือหัวข้อปัญหาวิจัย จะต้องเขียนโดยใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ชัดเจน ไม่ใช้ภาษาพด ชื่อเรื่อง
                                                                                              ู
                       ต้องระบุว่าจะต้องศึกษาอะไร กับใครและศึกษาในแง่มุมใด

                   -  ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาหรือภูมิหลังเป็นการเขียนให้ทราบว่าปัญหานี้มีที่มาอย่างไร มี

                       สภาพการณอย่างไร มีความสำคัญอย่างไร มีมูลเหตุใด ผู้วิจัยจึงทำการวิจัยหัวข้อนั้นๆ ควรมีการ
                                 ์
                       อ้างอิงทฤษฎี หลักการและข้อเท็จจริงพื้นฐานเพื่อสนับสนุนให้ปัญหามีน้ำหนักขึ้น

                   -  วัตถุประสงค์การวิจัย จัดเป็นหัวใจสำคัญของการทำวิจัย ซึ่งเป็นการแสดงให้ทราบถึงเป้าหมายของ

                       ผู้วิจัยว่าต้องการศึกษาอะไร กับใครในแงมุมใด ลักษณะของการเขียนต้องเฉพาะเจาะจงลงไปจากชื่อ
                                                        ่
                       เรื่อง การวิจัยที่กำหนดไว้จะได้ทราบถึงตัวแปรที่ต้องศึกษาตลอดจนรูปแบบการวิจัยด้วย
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19