Page 108 - Ratthasatr Boonpsal
P. 108
ใบงานที่
2.3 หลักฐานทางประวัติศาสตร์
ค าชี้แจง ให้นักเรียนตอบค าถามต่อไปนี้
1. หลักฐานทางประวัติศาสตร์ไทย แบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง
หลักฐานทางประวัติศาสตร์ไทย แบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 2 ประเภท ได้แก่
1) หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ ต านาน จารึก พงศาวดาร บันทึกของชาวต่างชาติ จดหมายเหตุ เอกสาร
ทางราชการ
2) หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ โบราณสถาน โบราณวัตถุต่างๆ
2. เพราะเหตุใด การน าต านานมาใช้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์จึงต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง
เพราะต านานเป็นเรื่องที่เล่าต่อๆ กันมา แล้วมีการน ามาบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรในภายหลัง เรื่องที่อยู่ใน
ต านานจึงอาจถูกเปลี่ยนแปลงจากเรื่องเดิมได้ ทั้งยังไม่มีการระบุเวลาแน่ชัดอีกด้วย
3. ถ้านักเรียนศึกษาหาความรู้ทางประวัติศาสตร์จากพงศาวดาร นักเรียนจะได้รับความรู้เรื่องใดบ้าง
เพราะเหตุใด
เหตุการณ์เกี่ยวกับอาณาจักร และพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ผู้ครองอาณาจักรนั้นๆ เนื่องจาก
พงศาวดารเป็นการบันทึกเรื่องราวในอดีตภายใต้การอุปถัมภ์ของราชส านัก จึงมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับราชอาณาจักรและ
พระมหากษัตริย์เป็นส่วนใหญ่
4. การน าบันทึกของชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยมาใช้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์
จะต้องค านึงถึงอะไรบ้าง
ความเข้าใจผิดในวัฒนธรรมของคนไทย เนื่องจากชาวต่างชาติมีพื้นฐานทางความคิด และวัฒนธรรมที่แตกต่าง
จากคนไทย
5. นักเรียนคิดว่า จดหมายเหตุสามารถน ามาใช้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้หรือไม่ อธิบายเหตุผล
จดหมายเหตุสามารถน ามาใช้เป็นหลักฐานในการศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ได้เป็นอย่างดี เพราะมีการระบุ
เวลาที่แน่นอน ให้รายละเอียดของเหตุการณ์อย่างชัดเจน พร้อมทั้งสอดแทรกความคิดเห็นของผู้บันทึกลงไปด้วย
บทสรุป
หลักฐานทางประวัติศาสตร์มีความส าคัญต่อการศึกษาประวัติศาสตร์อย่างไรบ้าง
(พิจารณาตามค าตอบของนักเรียน โดยให้อยู่ในดุลยพินิจของครูผู้สอน)
ประวิติศาสตร์ ม.1