Page 118 - JMSD VOL.1 No.1 2016 _Neat
P. 118

is based on the development of Buddhism. This happened two thousand five hundred
        years ago.



        Keywords : Development, Learning, community



        บทนำา

               การพัฒนาตามแนวทางพระพุทธศาสนาทั้งในส่วนของสังคมและตัวมนุษย์แต่จะเน้นที่การพัฒนา
        คน เพราะเมื่อคนพัฒนาแล้ว ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจจะนำาไปสู่การพัฒนาชุมชนสังคมและเป็นการ
        พัฒนาที่ทำาให้เกิดผลของการพัฒนาอย่างแท้จริงเป้าหมายของการพัฒนา คือ การปลดปล่อยตนเองให้

        พ้นจากความทุกข์ทั้งทางกายและทางจิตใจโดยการให้ความสำาคัญกับความสุขทางจิตใจอันเกิดจากความ
        มีอิสรภาพที่พึ่งตนเองได้และความเข้มแข็งของบุคคลและสังคมซึ่งเป็นเครื่องชี้ให้เห็นระดับการพัฒนา กรม

        การศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม, (2553 : 15)
               ปัจจุบันมีองค์กรหรือสถาบันต่างๆ ได้ดำาเนินการใช้ศาสตร์และศิลป์ในการบริหารงาน ควบคู่ไปกับ
        การบริหารจิตใจด้วยการใช้หลักคำาสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันเป็นวิถีทางของพระพุทธ

        ศาสนา เพื่อเป็นการชี้ให้เห็นถึงแนวความคิดและวิธีการในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์วิถีพุทธ และเป็น
        แนวทางให้นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในสังคมไทยสามารถใช้เป็นต้นแบบ (Role Model) ในการผลิต

        ทรัพยากรมนุษย์ให้สอดคล้องกับความต้องการขององค์กรเพื่อเป็นต้นแบบในการดำาเนินชีวิตของมนุษย์
        ที่เปี่ยมล้นไปด้วยศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา เป็นการนำาสิ่งที่มีค่าที่พระพุทธเจ้า
        ท่านได้สละเวลาทั้งชีวิต โดยเน้นหลักการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์วิถีพุทธ เพื่อก่อให้เกิดต้นแบบทุนมนุษย์

        วิถีพุทธเพื่อไปสร้างวัฒนธรรมองค์กร สังคมไทยให้มีประสิทธิผลสูง เกิดความมั่นคงเนื่องจากมีการพัฒนา
        ออกไปจากตนเอง ครอบครัว ชุมชน ประเทศชาติ และโลก ร่วมสร้างศรัทธาที่มีแนวทางที่ดี จะทำาให้ทุก

        คนเป็นสัตบุรุษสามารถเผชิญกับสิ่งต่างๆ รอบด้านได้ด้วยใจที่เป็นสุข เปี่ยมไปด้วยศีล สมาธิ ปัญญา ตาม
        หลักพระพุทธศาสนา รวมทั้งการพัฒนาจิตใจของตนเองและการก่อให้เกิดสังคมที่เป็นรูปธรรมของสังคมที่
        มีลักษณะสังคมแบบ Share & Care

               พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำาชาติไทยมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ประชาชนชาวไทยร้อย
        ละ 95 นับถือพุทธศาสนา หลักของพระพุทธศาสนาจึงเป็นแก่นของวัฒนธรรมไทยทุกสาขาโดยมีวัดเป็น

        ศูนย์กลางในการถ่ายทอดวิชาการศีลธรรม จริยธรรม วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ ไปสู่
        ชุมชน วัดและสถาบันสงฆ์ จึงเป็นสถาบันหลักที่สำาคัญในสังคมไทย และมีบทบาทสูงในทุกชนชั้นของสังคม
        ทั้งนี้เพราะประชาชนได้ให้ความศรัทธาพระพุทธศาสนาและเคารพพระสงฆ์ตลอดมา วัดจึงเป็นสถาบันหลัก

        ที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนไทยได้เป็นอย่างดี ในสังคมไทยไม่ว่าจะเป็นสังคมเมืองหรือสังคมชนบท ทุกหมู่บ้าน
        ต่างก็มีวัดเป็นสมบัติร่วมกันของคนในท้องถิ่น ประชาชนในแต่ละหมู่บ้านก็มีความสัมพันธ์แนบแน่นกับวัด




                                                  109
   113   114   115   116   117   118   119   120   121   122   123