Page 121 - JMSD VOL.1 No.1 2016 _Neat
P. 121
Journal of MCU Social Development
Vol.1 No.1 January - April 2016
ปี พ.ศ. 2555 ต่อมาที่ได้มีนโยบายร่วมกับกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ได้จัดทำา “โครงการ 1 จังหวัด
1 อำาเภอ 1 ท้องถิ่น : 1 พุทธบูชา ปี พ.ศ. 2555 ฉลองพุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า”
เฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จะทรงเจริญพระชนมพรรษา 80
พรรษาและสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร จะทรงเจริญพระชนมพรรษา 60 พรรษาซึ่ง
เป็นอภิมหามงคลสมัยที่ยิ่งใหญ่ โครงการ 84 สายถวายในหลวง, (ออนไลน์), (5 ต.ค. 2559)
ปรีชา กันธิยะ, (2555 : 24) กล่าวว่า สำาหรับคนไทยทั้งแผ่นดินที่จะได้ปฏิบัติบูชา น้อมเกล้าฯ ถวายเป็น
พระราชกุศลในวโรกาสนี้ สำาหรับกิจกรรมอย่างหนึ่งที่ได้ช่วยส่งเสริมพระพุทธศาสนาฉลองพุทธชยันตี
2600 ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ที่ได้จัดให้มีและดำาเนินการทั่วประเทศเช่น การจัดไหว้พระ 9 วัด
เป็นการตระเวนไปสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในวัดที่มีชื่อเสียงหรือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ 9 แห่งในจังหวัดต่างๆ จาก
คติที่ว่า “การเริ่มต้นที่ดีคือส่วนหนึ่งของความสำาเร็จ” กรมการศาสนาได้จัดกิจกรรม “ไหว้พระ 9 วัด” เป็น
กิจกรรมที่ให้ประชาชนและโดยเฉพาะเด็กและเยาวชนที่สนใจได้เดินทางไปท่องเที่ยวสักการะสถานที่อัน
เป็นมงคล เพื่อการเริ่มต้นอย่างมีความสุขสงบทางใจ ตามคติความเชื่อของไทย อีกทั้งยังเป็นการเรียนรู้ถึง
คุณค่าของโบราณสถานที่สำาคัญของวัดนั้นๆ
กองพุทธศาสนาสถาน สำานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (2553 : 5) พระพุทธศาสนาเป็นศาสนา
ประจำาชาติไทยมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนา ดังนั้น พุทธ
ศาสนาจึงเป็นแก่นแท้ของวัฒนธรรมไทยทุกสาขา โดยมีวัดเป็นศูนย์กลางในการถ่ายทอดศีลธรรม จริยธรรม
วัฒนธรรม และประเพณีต่างๆ ไปสู่ชุมชน ในอดีตวัดเป็นสถานที่พุทธศาสนิกชนทั่วไปได้ใช้เป็นสถานศึกษา
อบรมให้มีความรู้ในด้านวิชาชีพ ตำาราแพทย์แผนโบราณ และศิลปกรรมแขนงต่างๆ ใช้ทำาบุญบำาเพ็ญกุศล
เป็นศูนย์กลางการบริหาร และการปกครอง รวมทั้งเป็นสถานที่สงเคราะห์ทางจิตใจแก่ประชาชน พระพุทธ
ศาสนาจึงเป็นศาสนาแนวมนุษยนิยม (Humanism) ที่เน้นส่งเสริมให้มนุษย์พัฒนาฝึกฝนศักยภาพของ
ตนเองให้สมบูรณ์สูงสุดด้วยการใช้ พระธรรมวินัยเป็นเครื่องมือฝึกฝน โดยมีพระสงฆ์เป็นผู้ยืนยันความ
จริงและคอยเป็นเสมือนพี่เลี้ยงดังกล่าว พระสงฆ์จึงมีบทบาทสำาคัญในการเป็นผู้นำาในการพัฒนามนุษย์ใน
ชุมชนให้สมบูรณ์ด้านกายกับจิตและจัดสภาพแวดล้อมอย่างเหมาะสม ควรมีการนำาหลักธรรมมาเป็นพื้น
ฐาน (ปรัชญาปณิธาน) กำาหนดเป้าหมายวางยุทธศาสตร์และกำาหนดแนวทางวิธีการการพัฒนา ซึ่งบทบาท
ดังกล่าวกลายเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ล้ำาค่าทั้งในการสร้าง (ปลูก) ศรัทธาและรักษาศรัทธาของประชาชน
และเป็นเครื่องชี้นำาวิถีทางการดำาเนินชีวิตอันสันติสุข
มนุษย์มีการเจริญเติบโตและต้องเรียนรู้ นับตั้งแต่ปฏิสนธิตราบจนสิ้นชีวิต การเรียนรู้ก่อคุณสมบัติ
ที่พึงประสงค์และบางครั้งเกิดผลในทางเสื่อมและความเสี่ยง สุมน อมรวิวัฒน์, (2546 : คำาชี้แจง) ในช่วง
วัยต้น ๆ เด็กและเยาวชนได้รับการฝึกหัดอบรมช่วยเหลือดูแลจากผู้ใหญ่ เช่น พ่อแม่ ครู และสังคมที่
แวดล้อม รวมไปถึงการเรียนรู้แบบลองผิดลองถูกด้วยตนเอง อีกทั้งสื่อต่าง ๆ และกิจกรรมในชีวิตได้ช่วย
สร้างประสบการณ์ขั้นพื้นฐานเพื่อพร้อมที่จะแสวงหาความรู้ใหม่เพื่อเติบใหญ่ขึ้นเป็นเยาวชนคนหนุ่มสาว
112