Page 68 - JMSD VOL.1 No.1 2016 _Neat
P. 68
วารสาร มจร การพัฒนาสังคม
ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2559
รัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง และศาลยุติธรรม โดยจะต้องปฏิรูปองค์กรเหล่านี้ให้มีประสิทธิภาพในการทำางาน
มีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถและมีคุณธรรมในการทำางานมีงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ที่เพียงพอมี
กระบวนการสรรหาและแต่งตั้งกรรมการที่เป็นอิสระไม่ถูกแทรกแซงทางการเมือง มีความเป็นกลาง มีกฎ
กติกากำากับการทำางานที่ชัดเจน มีเป้าหมายในการทำางานที่สามารถวัดและประเมินผลได้และมีระบบการ
บริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ
ดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชัน
ดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชัน (Corruption Perceptions Index: CPI) จัดอันดับโดยองค์กรเพื่อ
ความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International: TI) ซึ่งเป็นองค์การนานาชาติ ก่อตั้งในประเทศ
เยอรมณี ได้เริ่มมีการจัดทำาดัชนีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 ถึงปัจจุบัน เป็นเวลา 22 ปี สำาหรับประเทศไทยมีมูลนิธิ
องค์กรเพื่อความโปร่งใสในประเทศไทย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์เป็นผู้ดำาเนินการ ผู้เขียนได้นำา
อันดับ CPI ของประเทศในภูมิภาคอาเซียนมาแสดงให้ผู้อ่านได้เห็นว่า ดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชันของ
ประเทศไทยในปี พ.ศ. 2557-2558 ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่เท่าไรของโลกและอาเซียน
อันดับ อันดับโลกปี คะแนนปี คะแนนปี
ใน พ.ศ. 2558 ประเทศ พ.ศ. พ.ศ. 2558
อาเซียน 168 ประเทศ 2557
1. 8 สิงคโปร์ 84 85
2. 54 มาเลเซีย 52 50
3. 76 ไทย 38 38
4. 88 อินโดนีเซีย 34 36
5. 95 ฟิลิปปินส์ 38 35
6. 112 เวียนดนาม 31 31
7. 139 ลาว 25 26
8. 147 พม่า 21 22
9. 150 กัมพูชา 21 21
ตารางที่ 1 ดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชัน ประจำาปี พ.ศ. 2557-2558
ที่มา: องค์กรเพื่อความโปร่งใสในประเทศไทย
59