Page 64 - JMSD VOL.1 No.1 2016 _Neat
P. 64

วารสาร มจร การพัฒนาสังคม
                                                                    ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2559



        เจ้าหน้าที่ได้รับของแถม หรือผลประโยชน์อื่นตอบแทน เป็นต้น
               ประเภทที่สอง การทำาธุรกิจกับตัวเอง (Self-Dealing) หรือเป็นคู่สัญญา (Contracts) หมายถึง

        สถานการณ์ที่ผู้ดำารงตำาแหน่งสาธารณะมีส่วนได้ส่วนเสียในสัญญาที่ทำากับหน่วยงานที่ตนสังกัด ตัวอย่าง
        เช่น การใช้ตำาแหน่งหน้าที่ที่ทำาให้หน่วยงานทำาสัญญาซื้อสินค้าจากบริษัทของตนเอง หรือจ้างบริษัทของ
        ตนเป็นที่ปรึกษา หรือซื้อที่ดินของตนเองในการจัดสร้างสำานักงาน สถานการณ์เช่นนี้เกิดบทบาทที่ขัดแย้ง

        เช่น เป็นทั้งผู้ซื้อและผู้ขายในเวลาเดียวกัน
               ประเภทที่สาม การทำางานหลังจากออกจากตำาแหน่งสาธารณะหรือหลังเกษียณ (Post-Employ-

        ment) หมายถึง การที่บุคลากรออกจากหน่วยงานของรัฐ และไปทำางานในบริษัทเอกชนที่ดำาเนินธุรกิจ
        ประเภทเดียวกัน เช่น เป็นผู้รับบริหารหรือเจ้าหน้าที่ขององค์กรอาหารและยาลาออกจากงานราชการและ
        ไปทำางานในบริษัทผลิตหรือขายยา หรือผู้บริหารกระทรวงคมนาคมหลังเกษียณออกไปทำางานเป็นผู้บริหาร

        ของบริษัทธุรกิจสื่อสาร
               ประเภทที่สี่ การทำางานพิเศษ (Outside Employment or Moonlighting) หมายถึง ในรูปแบบ

        นี้มีได้หลายลักษณะ เช่น ผู้ดำารงตำาแหน่งสาธารณะตั้งบริษัทดำาเนินธุรกิจที่เป็นการแข่งขันกับหน่วยงานหรือ
        องค์การสาธารณะที่ตนสังกัด หรือการรับจ้างเป็นที่ปรึกษาโครงการโดยอาศัยตำาแหน่งในราชการสร้างความ
        น่าเชื่อถือว่าโครงการของผู้ว่าจ้างจะไม่มีปัญหาติดขัดในการพิจารณาจากหน่วยที่ที่ปรึกษาสังกัดอยู่ หรือใน

        กรณีที่เป็นผู้ตรวจสอบบัญชีของกรมสรรพากรก็รับงานพิเศษเป็นที่ปรึกษาหรือเป็นผู้ทำาบัญชีให้กับบริษัทที่
        ต้องถูกตรวจสอบ

               ประการที่ห้า การรับรู้ข้อมูลภายใน (Inside Information) หมายถึง สถานการณ์ที่ผู้ดำารงตำาแหน่ง
        สาธารณะใช้ประโยชน์จากการรู้ข้อมูลภายในเพื่อประโยชน์ของตนเอง เช่น ทราบว่าจะมีการตัดถนนตรง
        ไหนก็รีบไปซื้อที่ดินโดยใส่ชื่อภรรยาหรือทราบว่าจะมีการจัดซื้อที่ดินเพื่อทำาโครงการของรัฐ ก็รีบไปซื้อที่ดิน

        เพื่อเก็งกำาไรและขายให้กับรัฐในราคาที่สูงขึ้น
               ประการที่หก การใช้สมบัติราชการเพื่อประโยชน์ธุรกิจส่วนตัว (Using Your Employer’s Prop-

        erty for Private Advantage) หมายถึง การนำาเครื่องใช้สำานักงานต่างๆ กลับไปใช้ที่บ้าน การนำารถยนต์
        ในราชการไปใช้ในงานส่วนตัว
               ประการสุดท้าย การนำาโครงการสาธารณะลงในเขตเลือกตั้งเพื่อประโยชน์ทางการเมือง (Pork-Bar-

        reling) หมายถึง การที่รัฐมนตรีอนุมัติโครงการของกระทรวงลงไปในพื้นที่หรือบ้านเกิดของตนเองหรือการ
        ใช้งบประมาณสาธารณะเพื่อหาเสียงเลือกตั้ง

               นอกจากนี้ยังมีนักวิชาการไทยได้กำาหนดประเภทของการขัดกันแห่งผลประโยชน์เพื่อการศึกษาที่
        สำาคัญๆ เพิ่มเติมอีก ทำาให้ครอบคลุมถึงการขัดกันแห่งผลประโยชน์ที่มีความซับซ้อนที่เจ้าหน้าที่รัฐพึงละเว้น









                                                 55
   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69