Page 63 - JMSD VOL.1 No.1 2016 _Neat
P. 63
Journal of MCU Social Development
Vol.1 No.1 January - April 2016
ละเมิดทางจริยธรรม และส่งผลกระทบหรือความเสียหายต่อประโยชน์ส่วนรวมหรือประโยชน์สาธารณะ
(กิตติพศ กำาเนิดฤทธิ์, 2550 :14) หรือสถานการณ์ที่เจ้าหน้าที่รัฐมีผลประโยชน์ส่วนตัว ขณะเดียวกันได้ใช้
อำานาจอิทธิพลที่ตนมีตามอำานาจหน้าที่และความรับผิดชอบทางสาธารณะไปขัดกับผลประโยชน์ส่วนตัว
หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ความขัดแย้งระหว่างผลประโยชน์ส่วนตัวกับผลประโยชน์ส่วนรวมนั้นเอง (จุมพล
หนิมพานิช, 2554 : 760) หรือเป็นความขัดแย้งระหว่างประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวมหรือผล
ประโยชน์ทับซ้อนในการเมืองการปกครอง โดยการละเมิดกฎหมายและจริยธรรม ทำาให้ละทิ้งคุณธรรมใน
การปฏิบัติหน้าที่สาธารณะ ส่งผลกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ (ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์, 2558 : 14) หรือ
เป็นสภาวะซึ่งการกำาหนดนโยบายเพื่อผลประโยชน์ของสังคมโดยรวม หรือการตัดสินใจทางการเมืองถูก
แทรกแซงด้วยผลประโยชน์เฉพาะของบริษัทธุรกิจเอกชน (ผาสุก พงษ์ไพจิตร, 2548 : 6)
สรุปได้ว่า การขัดกันแห่งผลประโยชน์หรือผลประโยชน์ทับซ้อน คือ การที่เจ้าหน้าที่รัฐผู้ที่มีอำานาจ
หน้าที่ในการตัดสินใจขาดความซื่อสัตย์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ หวังผลประโยชน์ส่วนตนหรือพวกพ้องมากว่าผล
ประโยชน์ส่วนรวม ทำาให้เกิดผลเสียหายต่อประชาชนและต่อประเทศชาติ ทั้งนี้ การขัดกันแห่งผลประโยชน์
จะไม่เกิดถ้าหากเจ้าหน้าที่รัฐมีคุณธรรมและจริยธรรมในการปฏิบัติราชการ
องค์ประกอบของการขัดกันแห่งผลประโยชน์
จากที่กล่าวถึงความหมายของ การขัดกันแห่งผลประโยชน์ ข้างต้น หากพิจารณาในแง่ขององค์
ประกอบสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 องค์ประกอบ ดังนี้ ประการแรก ผลประโยชน์ส่วนบุคคลหรือผล
ประโยชน์ส่วนตัว ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นผลประโยชน์ที่มีความเกี่ยวพันกับเงินและทรัพย์สินเป็นประการสำาคัญ
นอกจากนั้นก็จะเป็นผลประโยชน์ในรูปแบบอื่นๆ ที่ทำาให้ผู้ได้รับพึงพอใจ ประการที่สอง การใช้อำานาจหน้าที่
และดุลพินิจในการตัดสินใจดำาเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว และประการสุดท้าย การ
ปฏิบัติหน้าที่โดยใช้สถานะและขอบเขตอำานาจหน้าที่ของผู้ดำารงตำาแหน่งทางการเมือง เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือ
พนักงานของรัฐ โดยขาดหลักจริยธรรมพื้นฐานในวิชาชีพของตน (ธีรภัทร เสรีรังสรรค์, 2549 : 110)
ประเภทของการขัดกันแห่งผลประโยชน์
ผลประโยชน์ทับซ้อนหรือลักษณะความขัดแย้งกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตัวและผลประโยชน์
ส่วนรวมว่ามีอยู่ทั้งหมด 7 ประเภท (John Langfom & Kernaghan, อ้างใน ธีรภัทร เสรีรังสรรค์, 2553
: 111) ดังนี้
ประเภทแรก การรับผลประโยชน์ต่างๆ (Accepting Benefits) หมายถึง การรับของขวัญจาก
บริษัทธุรกิจ บริษัทขายยาหรืออุปกรณ์การแพทย์สนับสนุนค่าเดินทางให้ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ไปประชุม
เรื่องอาหารและยาที่ต่างประเทศ หรือหน่วยงานราชการรับเงินบริจาคสร้างสำานักงานจากนักธุรกิจหรือ
บริษัทธุรกิจที่เป็นลูกค้าของหน่วยงาน หรือแม้กระทั่งในการใช้งบประมาณของรัฐเพื่อจัดซื้อจัดจ้าง แล้ว
54