Page 21 - JMSD Vol.1 No.2 - 2016
P. 21

วารสาร มจร การพัฒนาสังคม
                                                                   ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2559

                        1) เพื่อการเผยแผ่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ใช้เป็นที่ประทับจ�าพรรษาของพระสัมมา
                 สัมพุทธเจ้า และเป็นศูนย์กลางที่พระพุทธองค์ทรงงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา ให้ขจรขจายไปทั่ว
                 ทุกแว่นแคว้น 2) ใช้เป็นสถานที่ประชุมสงฆ์ทั้งแผ่นดินที่เดินทางรอนแรมมาเข้าเฝ้าพระสัมมาสัม
                 พุทธเจ้า 3) ใช้เป็นสถานที่ฝึกอบรมพระภิกษุ ให้เป็นนักเผยแผ่ก่อนจะส่งออกไปยังท้องถิ่นต่างๆ
                 4) ใช้เป็นสถานที่ฟังธรรมและประกอบบุญกุศลของพระราชาและชาวเมืองหลวง ซึ่งนิยมมาร่วม
                 ประชุมกันที่วัดในเวลาเย็น หลังเสร็จสิ้นภารกิจการงานในแต่ละวัน 5) ใช้เป็นสถานที่เชิดชูจรรโลง
                 ความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา ให้ปรากฏขึ้นในสายตาของชาวโลกในยุคนั้น และ 6) ใช้
                 เป็นสถานที่ประกอบบุญใหญ่ประจ�าแคว้น โดยมีพระราชาและชาวพุทธเป็นเจ้าภาพร่วมกันทั้ง
                 แผ่นดิน (พระภาวนา วิริยคุณ (เผด็จ ทตฺตชีโว), 2553: 17)
                        2) เพื่อการศึกษา ในสมัยนั้นเรียกว่า “คามวาสี” หรือ “วัดบ้าน” หมายถึง วัดที่สร้าง
                 ขึ้นเพื่อใช้เป็น “โรงเรียนสอนศีลธรรมประจ�าท้องถิ่น” ส�าหรับพระภิกษุและชาวบ้านที่อยู่ในท้อง
                 ถิ่นนั้นๆ ได้มีโอกาสศึกษาพระธรรมค�าสอนอย่างทั่วถึง
                        3) เพื่อการบรรลุธรรม ในสมัยนั้นเรียกว่า “อรัญวาสี” หรือ“วัดป่า” หมายถึง วัดที่สร้าง
                 ขึ้นเพื่อใช้เป็น “สถานที่บ�าเพ็ญภาวนาในป่า” มีบรรยากาศเงียบสงบ ร่มรื่น มีสถานที่หลีกเร้น
                 เหมาะแก่การบ�าเพ็ญภาวนาอยู่ในป่าตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน
                        วัดทั้งสามประเภทนี้ มีขนาดพื้นที่ มีลักษณะท้องถิ่น และล�าดับของการเกิดขึ้นที่แตกต่าง
                 กัน มีลักษณะส่งเสริมกันในด้านการท�างานเผยแผ่พระพุทธศาสนา ท�าให้พระภิกษุในยุคนั้น แม้
                 อยู่ต่างวัดกัน ก็สามารถท�างานเผยแผ่พระพุทธศาสนาร่วมกันได้อย่างมีเอกภาพเป็นหนึ่งเดียวกัน
                 สะท้อนให้ชาวพุทธยุคปัจจุบันได้เห็นว่า วัดทั้งสามประเภท ได้แก่ วัดเพื่อการเผยแผ่ วัดเพื่อการ
                 ศึกษา และวัดเพื่อการบรรลุธรรม ล้วนต้องพึ่งพาอาศัยอุปการะเกื้อกูลซึ่งกันและกัน พระพุทธ
                 ศาสนาจึงจะมีความเป็นปึกแผ่นมั่นคงเป็นหนึ่งเดียวกัน วัดย่อมไม่ร้างจากพระ ญาติโยมย่อม
                 ไม่ร้างจากการท�าบุญ โลกย่อมไม่ร้างจากพระอรหันต์ นี่คือ “สามประสานแห่งความมั่นคงของ
                 พระพุทธศาสนา” ที่ชาวพุทธทุกยุคทุกสมัยต้องการอย่างแท้จริงและไม่สามารถขาดวัดในประเภท
                 ใดประเภทหนึ่งไปได้ (มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539: 35)

                 เป้ำหมำยกำรสร้ำงวัดในประเทศไทย
                        วัดเล็กและวัดใหญ่ ไม่ว่าจะสร้างขึ้นหรือตั้งขึ้น ณ แห่งหนต�าบลใด ต่างมีเป้าหมายหลัก
                 อยู่ 4 ประการ คือ
                        1) เป็นสถานที่สร้างพระภิกษุดี มีคุณภาพให้พระพุทธศาสนา รวมทั้งเป็นที่อยู่อาศัย และ
                 ท�าการอบรมสั่งสอนประชาชนไปพร้อมๆ กันด้วย
                        2) เป็นสถานที่สร้างประชาชนในชุมชนนั้นๆ ให้เป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี ทั้งหญิงและชาย
                 โดยอาศัยพระภิกษุในวัดนั้นๆ ซึ่งได้รับการอบรมดีแล้ว ช่วยเมตตา สั่งสอนอบรมให้
                        3) เป็นสถานที่ประพฤติปฏิบัติธรรมร่วมกันทั้งชุมชน ตั้งแต่ให้ทาน รักษาศีล ฟังเทศน์
                 เจริญภาวนา และประกอบพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ร่วมกันในวันส�าคัญทางพระพุทธศาสนา
                        4) เป็นสถานที่ปลูกฝังวัฒนธรรมของการสร้างบารมีร่วมกันของชาวพุทธอย่างเป็นปึก



                                                                                           13
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26