Page 19 - JMSD Vol.1 No.2 - 2016
P. 19
วารสาร มจร การพัฒนาสังคม
ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2559
ส�าหรับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาควบคู่กับวัดเวฬุวนาราม (มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539:
129) 3) วัดบุพพาราม เป็นพุทธอารามเพื่อใช้ส�าหรับฝึกนักเผยแผ่พระพุทธศาสนา นางวิสาขา
มหาอุบาสิกาผู้เลิศด้วยการถวายทาน เป็นผู้สร้างถวาย ตั้งอยู่นอกเมืองอยู่ทางด้านทิศตะวันตก
ของกรุงสาวัตถี แคว้นโกศล โดยมีพระมหาโมคคัลลานะเป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง เป็นอาคาร
ทรงปราสาทสองชั้น มีชั้นละจ�านวน 500 ห้อง เป็นพระอารามที่มีแบบแปลนแผนผังดีมาก จึง
ใช้เป็นแบบมาตรฐานการสร้างวัดในสมัยต่อมา (มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539: 31)
จะเห็นได้ว่าวัดดังกล่าวในสมัยพุทธกาล ที่ใช้เป็นศูนย์กลางการเผยแผ่และปฏิบัติธรรม
ของประชาชน จะเป็นสถานที่กว้างขวางใหญ่โต แข็งแรง ส�าเร็จได้ก็มาจากการสร้างถวายโดยพระ
ราชา ผู้ที่เป็นเศรษฐี คหบดีที่มีฐานะการเงินดี มีศรัทธาอย่างแรงกล้าและอยู่ใกล้ชิดประชาชน
ที่อยู่ในเมืองและชนบท
วัดเป็นทั้งรากฐานการศึกษาประจ�าชุมชน และรากฐานการพัฒนาบ้านเมืองที่ส�าคัญ วัด
จึงได้เป็นสัญลักษณ์ของความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมือง ในด้านเศรษฐกิจและจิตใจ ในยุคใดที่
บ้านเมืองมีวัดจ�านวนมาก ขณะเดียวกันประชากรก็มีมากเพราะเกิดเพิ่มทุกวัน วัดก็ยิ่งมีบทบาท
ในการอบรมสั่งสอนประชาชนเสมือนโรงเรียนสอนศีลธรรมประจ�าท้องถิ่น ให้ทุกคนในครอบครัว
ในท้องถิ่นนั้น อยู่กันด้วยความสงบร่มเย็น ลูกหลานในชุมชนก็จะเป็นบัณฑิตนักปราชญ์ เป็นทั้งคน
เก่งและคนดี มีความรู้ในวิชาการทางโลกไปสร้างความเจริญด้านเทคโนโลยี น�าวิชาการทางธรรม
ไปเผยแผ่ให้ทุกคนเป็นคนดี ศัตรูหมู่ร้ายใดๆ ก็ต้องครั่นคร้าม ไม่กล้ามารุกราน วัดวาอารามก็จะ
ไม่ถูกทิ้งร้าง ถ้าในยุคใดสมัยใดที่วัดมีแต่เสื่อมโทรม มีแต่วัดร้าง แสดงว่ายุคนั้นศีลธรรมของผู้คน
เสื่อมโทรมตกต�่า การท�ามาหากินย่อมฝืดเคือง ผู้คนจะหมกมุ่นอยู่แต่อบายมุข บ้านเมืองมีแต่
ความแตกแยก คนในครอบครัวจะประพฤติกันเยี่ยงศัตรู (พระภาวนาวิริยคุณ (เผด็จ ทตฺตชีโว),
2553: 10)
เริ่มแต่สมัยสุโขทัย พุทธศาสนาในประเทศไทยได้วางรากฐานด้านศีลธรรม วัฒนธรรม
เป็นศาสนาประจ�าชาติไทยมาตลอด มีการก่อสร้างวัดวาอาราม ปูชนียสถานและปูชนียวัตถุทาง
พระพุทธศาสนามากมาย มีพระสงฆ์และวัดเป็นกลไกในการรวมศรัทธาของประชาชน (พระครู
ปริยัติกิตติธ�ารง, 2554: 219) สถานที่ซึ่งบุคคลทั่วไปเรียกว่าวัด และมีพระภิกษุสงฆ์จ�าพรรษา
นั้น แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมากับส�านักสงฆ์ วัดที่สมควรได้
รับพระราชทานวิสุงคามสีมาจะต้องเป็นวัดที่ได้สร้างหรือปฏิสังขรณ์เป็นหลักฐานถาวรและมีพระ
ภิกษุอยู่ประจ�าไม่น้อยกว่า 5 รูป อยู่ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปี ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา
ตามกฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2535 วัด
ดังกล่าวยังได้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1) วัดที่เป็นพระอารามหลวงกับวัดราษฎร์ และ 2)
วัดที่เป็นพระอารามหลวงคือวัดที่พระมหากษัตริย์หรือพระบรมวงศานุวงศ์ทรงสร้าง หรือวัดที่
รัฐบาลหรือราษฎรได้ร่วมกันสร้างถวาย แล้วพระองค์ทรงรับไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ วัดราษฎร์
คือ วัดที่ราษฎร์ทั้งหลายสร้างขึ้นตามก�าลังศรัทธา ส�านักสงฆ์ คือ สถานที่ตั้งพักอาศัยของหมู่คณะ
พระภิกษุสงฆ์ ยังไม่ได้ขอพระบรมราชานุญาตใช้ที่ดินแห่งนั้นตั้งเป็นวัด ยังไม่ได้รับพระราชทาน
วิสุงคามสีมา ไม่มีพระอุโบสถในการท�าสังฆกรรม (กรมการศาสนา, 2535: 15)
11