Page 24 - JMSD Vol.1 No.2 - 2016
P. 24

Vol.1 No.2 May - August 2016
                Journal of MCU Social Development

                        4) มีกลุ่มผู้มีอิทธิพลขัดแย้งกันในผลประโยชน์อยู่เดิมในสถานที่วัด จึงเข้าไปพัฒนาไม่ได้
                        5) ชุมชนที่รุกล�้าอาศัยสถานที่วัด ได้น�าสถานที่วัดไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นที่ไม่เหมาะสม
                 เช่น เป็นสถานบันเทิง สถานการพนัน เป็นต้น (พระมหาชัยวิชิต ชยาภินนฺโท (โสภาราช), 2553:
                 60)
                        ดร.ประภัสสร์ ชูวิเชียร อาจารย์ประจ�าภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี
                 มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นนักตระเวนค้นหาและรวบรวมข้อมูลวัดที่ถูกทิ้งร้าง ได้ให้ความเห็น
                 ว่า การขยายเขตเมือง การสร้างถนน หรือมีการปลูกสร้างคอนโดมิเนียมเข้ามาในสถานที่ของวัด
                 เป็นสาเหตุหลักที่ท�าให้โบราณสถานที่มีอยู่เดิมในวัดร้างถูกท�าลายไปเรื่อยๆ ลักษณะทางกายภาพ
                 ของพื้นที่วัดก็ถูกเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะวัดร้างที่เคยตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพฯ เมื่อโบราณสถาน
                 สูญหาย ก็ไม่สามารถเรียกกลับคืนมาได้อีก คงจะชะลอในการสูญหายไม่ได้ ที่จะท�าได้ก็คือ ให้
                 คนในชุมชนอยู่ร่วมด้วย พร้อมส�านึกในคุณค่าและความส�าคัญของสถานที่วัด เมื่อคนในชุมชน
                 รู้สึกเช่นนี้ คงจะไม่ปล่อยให้สิ่งก่อสร้างหรือโบราณสถานที่เหลืออยู่ ได้สูญหายไปง่ายๆ (ดร.ประ
                 ภัสสร์ ชูวิเชียร, 2555)


                 พุทธวิธีในกำรแก้ปัญหำและพัฒนำวัดที่ถูกทิ้งร้ำงให้มำเป็นวัดที่รุ่งเรือง
                        วิธีหรือแนวทางการจะแก้ปัญหาวัดที่ถูกทิ้งร้าง เพื่อให้มีพระภิกษุเข้ามาจ�าพรรษาประจ�า
                 ให้มาอบรมศีลธรรมแก่สาธุชนและพัฒนาให้เจริญรุ่งเรือง จะต้องด�าเนินการดังนี้
                        1) มีการสนับสนุนด้านงบประมาณ ส�าหรับการบูรณปฏิสังขรณ์วัดร้างเพื่อให้เป็น
                 ศูนย์กลางของชุมชน
                        2) ส่งเสริมสนับสนุนด้านการบูรณปฏิสังขรณ์ วัดที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ศิลปะและ
                 วัฒนธรรม ให้มีความมั่นคงแข็งแรงสวยงาม เป็นแหล่งศึกษาหาความรู้ของประชาชนทั่วไป
                        3) ให้ค�าแนะน�า ประชาสัมพันธ์ สร้างความรู้ ความเข้าใจแก่ชุมชนที่ตั้งบ้านเรือนเข้ามา
                 บริเวณวัด ให้ได้ย้ายออกไป เพื่อจะได้พัฒนาวัดให้มีสภาพดีตามเจตนารมณ์ของบรรพชน
                        4) จัดประชุมในชุมชนและจัดท�าโครงการต่างๆ เพื่อให้ชุมชนเห็นถึงความส�าคัญและ
                 คุณค่าในการพัฒนาวัด โดยจะส่งพระสงฆ์เข้ามาดูแลและพัฒนาต่อไป
                        5) ติดตามประเมินผลของการบูรณะฟื้นฟูและปฏิสังขรณ์วัดที่เคยรกร้างอยู่สม�่าเสมอ
                        6) ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ความส�าคัญและเข้ามามีส่วนร่วม
                 ในการพัฒนา (พระมหาชัยวิชิต ชยาภินนฺโท (โสภาราช), 2553: 72)
                        พระภาวนาวิริยคุณ (เผด็จ ทตฺตชีโว) ได้ให้ความเห็นถึงพุทธวิธีการแก้ปัญหาหรือพัฒนา
                 วัดที่ถูกทิ้งร้าง ดังนี้
                        1) สร้างบุคลากรเพื่อการบรรลุธรรม การสร้างบุคลากรเพื่อการบรรลุธรรม หมายถึง
                 สถาบันสงฆ์เข้ามาร่วมมือชักชวนชี้น�าอุบาสก ให้เข้ามาบรรพชาอุปสมบท เพื่อเป็นธรรมทายาท
                 สืบทอดอายุพระพุทธศาสนาให้มากขึ้น  ซึ่งจะเป็นการเพิ่มจ�านวนพระนวกะ พระมัชฌิมา และ
                 พระเถระ ขึ้นมาอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย แล้วส่งพระภิกษุไปอยู่ประจ�าตามวัดร้าง และวัดที่เกือบ
                 จะร้างต่อไป โดยเฉพาะพระนวกะ คือ พระบวชใหม่ จะต้องเป็นธรรมทายาทสืบต่ออายุพระพุทธ


                  16
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29