Page 89 - JMSD Vol.1 No.2 - 2016
P. 89
วารสาร มจร การพัฒนาสังคม
ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2559
nice following their own belief. They respect and focus on spirits and angels that
they believe that the natural surroundings mountains, forests, rivers which are
resided with different souls and they give top priority to the “prince of the elves
(Payathan)” who is in the universe, the souls of parents and the ancestors of the
family.
Therefore, to learn the culture and the way of life of Thai Song Dam in the
village of Donklang sub – district, Damneounsaduak district in Ratchaburi province
is the continuance of the best civilization of Thai Song Dam since ancient times
and pass to the next generations.
Keywords : Thai Song Dam, Local culture, Ratchaburi
บทน�ำ
ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีความหลากหลายทาง
ชาติพันธุ์ ที่มีความเป็นเอกลักษณ์ตกทอดให้ลูกหลานนับมาตั้งแต่สมัยจารีต โดยความเป็นกลุ่ม
ชาติพันธุ์ (Ethnic Group) ได้สื่อถึงลักษณะเด่นคือเป็นกลุ่มคนที่รับการสืบทอดจากบรรพบุรุษ
ทางสายเลือดและทางวัฒนธรรมเดียวกัน
ไตด�า [ไทด�า] หรือ ลาวโซ่ง เป็นกลุ่มชาวไทกลุ่มหนึ่ง ที่มีถิ่นฐานดั้งเดิมอยู่ในเขตสิบสอง
จุไทเดิม หรือบริเวณลุ่มแม่น�้าด�า และแม่น�้าแดงในเวียดนามตอนเหนือ ซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่ดั้งเดิมของ
ชาวไตด�า และ ชาวไตขาว ปัจจุบันสิบสองจุไทคือจังหวัดเดียนเบียนฟูของเวียดนาม มีเขตติดต่อ
กับประเทศลาวคือแขวงพงสาลี
ชาวไทยทรงด�า คือ ลาวทรงด�า หรือ ลาวโซ่ง เป็นชนกลุ่มน้อยกลุ่มหนึ่งที่ ตั้งบ้านเรือน
อยู่ตั้งแต่บริเวณมลฑล กวางสี ยูนาน ตังเกี๋ย ลุ่มแม่น�้าด�าและแม่น�้าแดง จนถึง แคว้น สิบสองจุ
ไท ในประเทศเวียดนามตอนเหนือ ได้อพยพเข้ามาในประเทศไทย ในสมัยกรุงธนบุรี พ.ศ. 2322
จากการถูกกวาดต้อนเป็นเชลยศึกสงคราม พระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดเกล้าให้ไปตั้งบ้านเรือนอยู่
ที่เมืองเพชรบุรีเพราะมีภูมิประเทศป่าเขา ห้วย ล�าธาร คล้ายคลึงกับถิ่นฐานเดิม ชาวไทยทรง
ด�า หรือ ลาวโซ่ง ได้ถูกกวาดต้อนเพิ่มอีกในรัชสมัยรัชกาลที่ 1 พ.ศ. 2335 และในสมัยรัชกาลที่
4 พ.ศ. 2377 ชาวไทยทรงด�า หรือ ลาวโซ่ง ที่ถูกกวาดต้อนเข้ามา ได้ปลูกบ้านเรือนอยู่เป็นหมู่
กระจายตามจังหวัดใกล้เคียง เช่น จังหวัดราชบุรี จังหวัดนครปฐม จังหวัดสุพรรณบุรี ในสมัย
รัชกาลที่ 5 พ.ศ. 2438 ในราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมี
ถึงกรมหมื่นด�ารงราชานุภาพ (ยศในขณะนั้น) ได้กล่าวถึงชาวลาวทรงด�า 700 คนที่ได้อพยพมา
จากจังหวัดเพชรบุรี เพื่อไปหาที่ท�ากินใหม่ ที่ต�าบลดอนมะเกลือ อ�าเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
บรรพบุรุษที่นั่นผ่านมาถึงปัจจุบันได้ประมาณสามสี่ช่วงอายุคน จากหลักฐานที่กล่าวมานี้ท�าให้
สันนิษฐานได้ว่า ชาวไทยทรงด�าได้พยายามเคลื่อนย้ายถิ่นฐานไปทางทิศเหนือของประเทศไทย
เหตุผลเพราะต้องการกลับไปยังถิ่นฐานบ้านเกิดเดิม คือเมืองแถง และบางกลุ่มต้องการหาที่ท�า
81