Page 93 - JMSD Vol.1 No.2 - 2016
P. 93
วารสาร มจร การพัฒนาสังคม
ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2559
คนให้มารับเครื่องเซ่นไหว้ ที่บุตรหลานจัดหามาเซ่นไหว้จะได้ไม่อดยาก และจะได้คุ้มครองบุตร
หลานให้มีความสุขความเจริญสืบไป
การท�าพิธีเสนเรือน เจ้าภาพจะเชิญผู้ประกอบพิธีคือ”หมอเสน” มาเป็นผู้ประกอบพิธี
เสนเรือน พร้อมกับแจ้งญาติพี่น้อง ให้ทราบก�าหนดวันท�าพิธีไหว้ผีเรือน หรือเสนเรือน และจัด
เตรียมเครื่องใช้ในการท�าพิธีให้เรียบร้อย ได้แก่ เสื้อฮี-ส้วงฮี ส�าหรับเจ้าภาพสวมใส่ขณะท�าพิธี
เสนเรือน ปานเผือน (ภาชนะคล้ายกระจาดขนาดใหญ่ บรรจุอาหารเครื่องเซ่นผีเรือน) ปานข้าว
(ภาชนะใส่อาหารในหม้อเสน) ตั่งก๋า (เก้าอี้หรือม้านั่ง ส�าหรับหมอเสนนั่งท�าพิธีในห้องผีเรือน)
และอาหารที่เป็นเครื่องเซ่นต่าง ๆ อาทิหมูจุ๊บ (เนื้อหมู เครื่องในหมูย�า) แกงไก่กับหน่อไม้เปรี้ยว
เนื้อหมูดิบ ซี่โครงหมู ไส้หมู ข้าวต้มผัดใส่กล้วย มันเทศต้ม เผือกต้ม อ้อย ขนม ผลไม้ต่าง ๆ ตาม
ฤดูกาล ข้าวเหนียวนึ่ง ๗ ห่อ ตะเกียบ ๗ คู่ หมากพลู บุหรี่ และเหล้าเป็นต้น
เมื่อได้เวลาเซ่นไหว้ผีเรือน เจ้าภาพจะจัดเครื่องเซ่นต่าง ๆ บรรจุลงในปานเผือนที่เตรียม
ไว้ และยกเข้าไปวางไว้ในห้องผีเรือนที่เรียกว่า “กะล่อห่อง” ซึ่งเป็นสถานที่ท�าพิธี หมอเสนจะ
เริ่มเซ่นไหว้ ด้วยการเรียกหรือกล่าวเชิญบรรดาผีเรือน ที่เป็นบรรพบุรุษของเจ้าภาพ โดยเรียก
ชื่อบรรพบุรุษตามบัญชีรายชื่อ ที่เจ้าภาพจดร่วมกันไว้ในสมุดผีเรือน เรียกว่า “ปั๊บผีเรือน” หรือ
“ปั๊บ” จนครบทุกรายชื่อเป็นจ�านวน ๓ ครั้ง แต่ละครั้ง หมอเสนจะใช้ตะเกียบคีบหมู กับขนมทิ้ง
ลงไปในช่องเล็ก ๆ ข้างขวาห้องผีเรือนที่ละครั้ง จึงเซ่นเหล้าแก่ผีเรือนอีก ๒ ครั้ง เพราะการเซ่น
เหล้าเป็นสิ่งส�าคัญอันไม่อาจขาดหรืองดเสียได้ เพื่อให้ผีเรือนได้กินอาหารและดื่มเหล้าอย่างอุดม
สมบูรณ์
หลังจากเซ่นไหว้ผีเรือนเรียบร้อยแล้ว หมอเสนจะท�าพิธีเสี่ยงทายให้แก่เจ้าภาพเรียก
ว่า “ส่องไก่”ด้วยการพิจารณาลักษณะของตีนไก่ในแกงหน่อไม้เปรี้ยวที่เจ้าภาพน�ามาให้และจัด
ท�านาย ในลักษณะดังกล่าวคือหากตีนไก่หงิกงอแสดงว่า ไม่ดีจะมีเรื่องร้าย เกิดขึ้นอันได้แก่การ
เจ็บป่วย การตาย หรือการท�ามาหากินประสบปัญหาต่าง ๆ เป็นต้น แต่ถ้าตีนไก่เหยียดตรง แสดง
ว่าทุกคนในครอบครัวของเจ้าภาพจะประสบแต่ความสุขความเจริญต่อจากนั้น เจ้าภาพจะท�าพิธี
ขอบคุณหมอเสนที่มาช่วยท�าพิธีเสนเรือน ให้แก่ครอบครัวของตนเรียกว่า “ฟายหมอ” แล้วจึง
เลี้ยงอาหารแขกที่มาช่วยงานเป็นอันเสร็จพิธีเสนเรือน
พิธีแต่งงาน
นอกจากการเสนเรือน จะเป็นพิธีส�าคัญตามประเพณีของลาวโซ่งแล้ว พิธีแต่งงาน หรือ
เรียกตามภาษาลาวโซ่งว่า”กินดอง” ก็เป็นอีกพิธีหนึ่ง ซึ่งยังคงรักษาลักษณะดั่งเดิม ของลาวโซ่ง
ไว้ได้เป็นแบบฉบับโดยเฉพาะ เพราะเมื่อหนุ่มสาวลาวโซ่ง รักใคร่ ตกลงใจที่จะแต่งงานกัน ฝ่าย
ชายก็จะส่งผู้ใหญ่ของตนไปทาบทาม และสู่ขอ ฝ่ายหญิงเป็นการหมั้นหมาย แล้วจึงนัดวันท�าพิธี
แต่งงานหรือกินดองกันต่อไป
การท�าพิธีแต่งงาน จะเริ่มพิธีที่บ้านของฝ่ายหญิงซึ่งเป็นเจ้าสาว โดยในวันกินดอง เจ้า
บ่าวจะต้องท�าพิธีไหว้ผีเรือน บ้านเจ้าสาว และกล่าวอาสาว่า ตกลงจะอยู่รับใช้ หรือช่วยท�างานให้
กับครอบครัวของพ่อตาแม่ยาย ว่าเป็นเวลากี่ปีแล้วแต่จะตกลงกัน เพื่อให้ผีเรือนได้รับรู้ เนื่องจาก
เมื่อแต่งงานแล้ว เจ้าสาวจะต้องออกจากผีเรือนของตน ไปนับถือผีทางฝ่ายชายซึ่งเป็นสามี และ
85