Page 22 - แนวทางการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าปี 60
P. 22
2.2 กรณีที่ต้องฉีดวัคซีนทันที (ถ้าไม่เคยได้รับวัคซีนฯ มาก่อนต้องฉีด RIG ด้วย) ได้แก่
- การสัมผัสที่มีโอกาสติดโรคสูง ตามเกณฑ์ระดับความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้ากลุ่ม
ที่ 3 เช่น ถูกกัดบริเวณใบหน้า ศีรษะ ล�าคอ มือ แผลลึก แผลฉีกขาดมาก หลายแผล เป็นต้น
2.3 กรณีที่ยังไม่ฉีดวัคซีนทันที แต่กักขังสุนัขและแมวไว้สังเกตุอาการ 10 วัน ต้องมีองค์ประกอบ ดังนี้
2.3.1 สัตว์ที่กัดมีอาการปกติ และถูกกัดโดยมีเหตุโน้มน�า
2.3.2 สุนัขและแมวได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าทุกปี เคยฉีดมาแล้วอย่างน้อย 2 ครั้ง
ครั้งหลังสุดไม่เกิน 1 ปี
2.3.3 สุนัขและแมวได้รับการเลี้ยงดูอย่างดี ถูกกักขังบริเวณ ท�าให้มีโอกาสสัมผัสสัตว์อื่นที่อาจ
เป็นโรคพิษสุนัขบ้าได้น้อย
ถ้าสุนัขและแมวเกิดอาการผิดปกติในระหว่างสังเกตอาการ ให้เริ่มฉีดวัคซีนทันที ถ้าสัตว์
ตาย ควรส่งหัวสุนัขและแมวตรวจทางห้องปฏิบัติการด้วย
2.4 กรณีดังต่อไปนี้ ไม่ต้องฉีด rabies immunoglobulin (RIG) คือ
- ผู้สัมผัสที่เคยได้รับวัคซีนเซลล์เพาะเลี้ยงมาก่อนอย่างน้อย 3 เข็ม
- ผู้สัมผัสที่ได้รับการฉีดวัคซีนมาแล้วเกิน 7 วัน เพราะ RIG จะกดการสร้างภูมิคุ้มกันจากวัคซีน
2.5 การเขียนบัตรนัด
2.5.1 ผู้ให้บริการต้องเขียนระบุชนิดของวัคซีน วิธีฉีด วันที่ฉีดอย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
กรณที่ผู้สัมผัสจะต้องไปรับวัคซีนต่อที่อื่น เพื่อให้สถานบริการที่รับต่อทราบ และด�าเนินการได้อย่างถูกต้อง
2.5.2 ผู้ให้บริการจากสถานบริการเดิมต้องพิจารณาชนิดของวัคซีน วิธีฉีด วันที่ฉีดที่ผู้สัมผัส
โรคได้รับมาก่อน แล้วจึงให้บริการต่อด้วยวัคซีนและวิธีฉีดแบบเดิม
แนวทางการดำาเนินงานป้องกันควบคุม 17
โรคพิษสุนัขบ้า